ชาวถิ่น

ชาวถิ่น (H’ Tin)


ถิ่นจัดอยู่ในสาขามอญ-เขมร ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค มี 2 กลุ่มย่อยคือ ถิ่น คมาลหรือมาล และถิ่นคลำไปร๊ต์หรือไปร๊ต์ ถิ่นทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีความแตกต่างกันในภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนการตั้งถิ่นฐานและการแต่งกายเหมือน ๆ กัน ถิ่นอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 60-80 ปีมานี้ โดยอพยพมาจากแขวงไชยบุรี ประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ถิ่นในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ และเลย

ถิ่นมักตั้งบ้านเรือนอยู่บนภูเขาที่มีความสูประมาณ 1,000-1,300 เมตร เหนือจากระดับน้ำทะเล ลักษณะหมู่บ้านจะตั้งอยู่ในพื้นที่ราบบนภูเขา ซึ่งไม่ห่างแหล่งน้ำ ใช้อุปโภคมากนัก โดยจะรวมกันนเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งโดยเฉลี่ยประมาณ 50 ครอบครัวต่อหมู่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้านจะมีการกระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยยึดวงศ์ญาติเป็นหลัก กลุ่มย่อยหนึ่ง ๆ จะเป็นคนในตระกูลเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้ อาจเกิดจากสภาพการทำมาหากิน และพื้นที่สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ลักษณะบ้านของถิ่นจะเป็นบ้านเรือนไม้ยกพื้นสูง มีบันไดขั้นบ้าน มุงหญ้าคา ชายคายื่นโค้งลงมาแทบถึงพื้นดิน พื้นและข้างฝาทำด้วยไม้ไผ่ หลังคาด้านที่ลาดลงมาจะมีครกกระเดื่องสำหรับตำข้าวตั้งอยู่ และใช้เก็บฟืนและสิ่งของต่าง ๆ ด้วย ตัวบ้านไม่มีหน้าต่าง มีประตูเข้าบ้าน 2 ประตู หน้าบ้านจะมีระเบียบหรือนอกชานที่ใหญ่ ระเบียงหน้านี้จะมีชายคายื่นลงมาปกคลุม ส่วนใต้ถุนบ้านจะเป็นคอกสัตว์

ลักษณะครอบครัว ในบ้านหลังหนึ่ง ๆ อาจประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขยาย ซึ่งเกิดจากลูกสาวที่แต่งงานนำสามีเข้ามาอยู่ในบ้านด้วย ยิ่งมีบุตรสาวหลายคนก็มีหลายครอบครัว โดยครอบครัวของพี่สาวคนโต สามารถแยกไปตั้งบ้านใหม่ได้ ส่วนครอบครัวของบุตรสาวคนเล็ก จะต้องอาศัยอยู่กับพ่อแม่ตลอดไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ถิ่นอยากได้บุตรสาวมากกว่าบุตรชาย ซึ่งเมื่อแต่งงานแล้วต้องไปอยู่บ้านภรรยา ทำให้ครอบครัวขาดแรงงาน ไม่นิยมแต่งงานกับคนนอกกลุ่ม และห้ามแต่งงานกันในกลุ่มญาติสนิท หรือคนที่นับถือผีในตระกูลเดียวกัน เมื่อแต่งงานส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะเข้าไปเป็นสมาชิกในบ้านของฝ่ายหญิง ช่วยทำมาหากินและเปลี่ยนมานับถือผีตามฝ่ายหญิง

การสืบสกุล สืบทอดสกุลฝ่ายมารดาเนื่องจากมีการนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายมารดา ผู้ชายที่แต่งงานแล้วต้องตัดขาดจากผีเดิมมานับถือผีของฝ่ายภรรยา และเมื่อมีบุตรก็นับถือผีฝ่ายมารดาเช่นกัน ดังนั้นในหมู่บ้านถิ่นหนึ่ง ๆ จะมีตระกูล 2-3 ตระกูล ๆ หนึ่งก็มี 3-5 หลัง ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน และผู้ที่นับถือผีเดียวกันจะมีอยู่เฉพาะภายในหมู่บ้านเท่านั้น ส่วนการใช้นามสกุลของถิ่นนั้นไม่สามารถบอกลักษณะความเป็นพี่น้องกันได้ เพราะในหมู่บ้านหนึ่งจะมีเพียง 1 นามสกุลเท่านั้น ส่วนนามสกุลนอกเหนือจากนี้แสดงถึงการอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านภายหลัง แต่ความเป็นเครือญาตินั้นต้องดูจากการนับถือผีของแต่ละคน

ถิ่นผลิตเพื่อการยังชีพไปวัน ๆ หนึ่ง การเพาะปลูกจึงเป็นอาชีพที่สำคัญ โดยเฉพาะการปลูกข้าวไร่เพื่อให้พอกินตลอดปี จึงทำให้ถิ่นต้องมีพิธีเลี้ยงผีหลายครั้ง เพื่อให้ผลผลิตมากพอกิน ส่วนการผลิตเพื่อนำเงินสดนั้น ถิ่นจะหาได้จากการล่าสัตว์ หรือขายสัตว์เลี้ยง การรับจ้างและการหาของป่าไปขาย นอกจากข้าวไร่ที่ปลูกกันทุกหมู่บ้านแล้ว มีบางหมู่บ้านเริ่มทำนาดำบ้าง ส่วนพืชอื่น ๆ นั้น มีข้าวโพด ข้างฟ่าง และพืชผักต่าง ๆ บางหมู่บ้านมีการเก็บเกี่ยวชาป่าทำเมี่ยงเพื่อขายต่อไป และบางหมู่บ้านแถบตำบลบ่อเกลือเหนือ และบ่อเกลือใต้ มีการทำเกลือเพื่อขายให้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย ถิ่นมีความสามารถเฉพาะเผ่าของตนอีกอย่างหนึ่งคือ การจักสานเสื่อหญ้าสามเหลี่ยม โดยจะนำหญ้าสามเหลี่ยมมาสานผสมกับใบตองจิงทำให้มีลวดลายที่สวยงาม สัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงมี ไก่ หมู เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม และยังสามารถขายลูกหมูเป็นรายได้อีกด้วย สุนัขเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน และช่วยในการล่าสัตว์ วัว ควาย เลี้ยงไว้เพื่อขายแก่คนพื้นราบ หรือเพื่อให้เช่าไปทำการไถนา

วิถีชีวิต

วิถีชีวิต

ปลูกกระวานและต้นฝ้ายเป็นอาชีพสำคัญ  กระวานนั้นถือเป็นพืชเครื่องเทศที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวชองอย่างยิ่งก่อนที่จะหันมาทำสวนผลไม้บนพื้นที่ราบเชิงเขาแทนการปลูกกระวานบนพื้นที่ภูเขาเช่นในอดีต  ชาวชองจะเลี้ยงตัวด้วยการปลูกข้าวและพึ่งพิงทรัพยากรจากป่าและธรรมชาติรอบตัว  ทั้งการล่าสัตว์  เก็บของป่า  ทำน้ำมันยาง  และเก็บลูกกระวานขาย  แต่การปลูกข้าว    ของชาวชองเป็นไปเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น  เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นป่าเขา  ไม่มีที่ราบมากนัก  ยุ้งข้าวของชาวชองจึงเป็นยุ้งข้าวที่ไม่ใหญ่โตนัก  ปัจจุบันชาวชองประกอบอาชีพทำสวนผลไม้และรับจ้าง

ภาษา

เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร สาขาย่อยเปียริก ใกล้เคียงกับภาษาสมราย ใช้พูดในหมู่ชาวชองใน ระยอง จันทบุรี และตราด มีผู้พูดทั้งหมด 5,500 คน ในกัมพูชามี 5,000 คน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างจังหวัดจันทบุรีของไทยกับจังหวัดโพธิสัตว์ของกัมพูชา ในไทยมี 500 คนในจังหวัดจันทบุรีและตราด ชื่อสถานที่ใน 3 จังหวัดนี้หลายแห่งมาจากภาษาชอง เช่น ระยอง มาจากภาษาชอง “ราย็อง” แปลว่าประดู่ ภาษาชองต่างพื้นที่กันมีความแตกต่างกันบ้าง แต่สำหรับชาวชองแล้ว ถือว่ายังพอสื่อสารกันได้

เดิมทีภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ซึ่งกำหนดโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล แล้วสะกดตามอักขรวิธีของภาษาไทย (การอ่านตามที่เขียนอาจไม่ถูกสำเนียงตามต้นฉบับ อย่ายึดถือเป็นแหล่งอ้างอิงจนกว่าจะได้ยินสำเนียงจากเจ้าของภาษา)

ปัจจุบันภาษาชองกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต คนเฒ่าคนชาวแก่เสียดายที่ภาษาชองจะสูญหายไป ปัจจุบันมีชาวชองอาศัยถิ่นฐานเดิม ตำบลคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ(ปัจจุบันมีแหล่งที่พูดกันมากที่สุดในตำบลตะเคียนทอง) จังหวัดจันทบุรี ประมาณ 6,000 คน แต่ที่พูดได้มีเพียงประมาณ 500 คน โดยส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุ ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนวัยรุ่นชาวชองนั้นอายที่จะพูดภาษาดั้งเดิมประจำชาติพันธุ์ของตน

ชอง

เป็นชนเผ่าโบราณอีกเผ่าหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ ออสโตร-เอเชียติก ตระกูล มอญ- เขมร มีภาษาพูดของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน คือภาษาชอง นับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า ซึ่งอาจมีมาแต่ก่อนสมัยสุโขทัยสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการใช้ต้นคลุ้ม มาจักสานสมุก ชนาง เสวียน มีประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา และปลูกต้นกระวาน ซึ่งชาวอินเดียและอาหรับชอบมาก ชาวชองอยู่กันมากแถบเชิงเขารอยต่อกับกัมพูชา เช่นที่บริเวณเขาสอยดาวเหนือ บ้านคลองพลู บ้านกะทิง บ้านตะเคียนทอง บ้านคลองพลู บ้านคลองน้ำเย็นในใกล้น้ำตกกะทิง อำเภอเขาคิชฌกูฏ บ้านวังแซม บ้านปิด อำเภอมะขาม จังหวัดัดจันทบุรี รวมไปถึงชาวชองที่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดด้วย มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 6,000 คน ปัจจุบันชาวชองนี้ได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่เหมือนกับคนทั่วไป ส่วนชาวชองที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา จะถูกเรียกว่า ชาวไทยซอง เพราะออกเสียง ช.ช้าง ไม่ถนัด และมีภาษาใกล้เคียงกับภาษาชองคือภาษาป่า

ภาษา

ภาษาของชาวมอแกน

ภาษามอแกน (Moken) หรือภาษามอเก็น ภาษาเมาเก็น ภาษาบาซิง หรือ เซลุง,ซาลอง,       ซะโลน และชาวเกาะ เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ภาษามาลาโย-โพโลนีเชียน สาขามาเลย์อิกซึ่งพูดกันทางใต้ของประเทศพม่าลงมา ตั้งแต่เมืองมะริดลงมาทางใต้ พบมากในบริเวณเกาะของพม่าภาคใต้และคาบสมุทรเมกุย (ประมาณ 7,000 คน) ไปจนถึงจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ ของประเทศไทย   ใกล้เคียงกับภาษามอเกลน และมีความสัมพันธ์กับภาษาอูรักลาโอ้ย เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม จากตระกูลภาษาออสโตรนีเชียนที่มอแกนใช้ และจากการสืบสาวประวัติศาสตร์ และเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่านักเดินทางทางทะเลในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดกันว่ามอแกนคงจะสืบเชื้อสายมาจากพวกโปรโตมาเลย์ ( Proto Malay) ซึ่งเป็นคนพวกแรกๆ ที่อพยพลงมาอยู่แถบคาบสมุทรมลายู ต่อมาคนกลุ่มนี้หันมาใช้ชีวิตทางทะเล เดินทางร่อนเร่ทำมาหากินตามหมู่เกาะและชายฝั่ง ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่หมู่เกาะมะริดในเมียนม่าร์ ลงไปทางใต้และตะวันออกจนถึงหมู่เกาะในทะเลซูลู ประเทศฟิลิปปินส์ และแถมเอาหลายๆ เกาะและชายฝั่งในมาเลเซียและอินโดนีเซียไว้ด้วย แต่ปัจจุบันการเดินทางจำกัดลงมาก และคนกลุ่มเหล่านี้ก็แยกย้ายกระจัดกระจายกัน พัฒนาการของสังคมวัฒนธรรมและภาษาก็ต่างกันออกไปจนแยกเป็นกลุ่มย่อยๆ หลายกลุ่ม

– ภาษาพูด

มอแกนมีภาษาพูดเป็นของตัวเองตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว

– ภาษาเขียน

ชาวมอแกนไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาเขียนเป็นภาษาไทย       ภาษายาวี พม่า และมาเลย์

– ภาษาหลัก ภาษารอง

ภาษาไทย ภาษายาวี พม่า และมาเลย์

เรือก่าบาง หัวใจสำคัญของชีวิตมอแกน

เรือ หรือ “ก่าบาง” เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตของมอแกน เป็นทั้งพาหนะ เครื่องมือทำมาหากิน บ้านพักอาศัย และบ่อยครั้งเป็นที่เกิดและที่ตายของมอแกน ก่าบางมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือมี “ง่าม” หรือรอยหยักเว้าที่หัวเรือและท้ายเรือ ประโยชน์ใช้สอยของง่ามที่หัวและท้ายเรือก็คือเป็นที่ปีนและก้าวขึ้นลงเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมอแกนลงทะเลเพื่อว่ายน้ำและดำน้ำ การขึ้นเรือทางข้างเรือที่มีกราบทำด้วยไม้ระกำเป็นไปได้ยากเพราะไม้ระกำที่ เสียบต่อกันด้วยซี่ไม้ไผ่นั้นไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักคนโหนขึ้น ง่ามมีประโยชน์สำหรับเป็นที่จับยึดเวลาลากเรือขึ้นและลงหาด และนักมานุษยวิทยายังให้ความหมายของง่ามเรือในเชิงสัญลักษณ์ซึ่งสะท้อน คุณลักษณะของมนุษย์คือมีปากและมีทวาร เรือเป็นเสมือนมนุษย์คนหนึ่ง คำเรียกส่วนต่างๆ ของเรือ ก็มาจากคำเรียกอวัยวะในร่างการของคน เช่น

•หละแก้ (ท้อง)

•ตะบิน (แก้ม)

•ตู่โก๊ะ (คอ)

•บ่าฮ้อย (ไหล่)

•ตะบิ้ง (ซี่โครง)

การอพยพเข้าไทย

อพยพเข้ามาเมืองไทย

การอพยพเข้ามาประเทศไทยของชาวมอแกนไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะการเข้ามีหลายกลุ่มและหลายช่วงเวลา จนกระทั้งปัจจุบันก็ยังมีการอพยพอยู่

ชาวเลในเมืองไทยมี 3 กลุ่ม คือ 1.มอแกน  2.มอแกลน (ซึ่งมอแกนเรียกว่า “ออลัง ตามับ”) และ 3.อูรักลาโว้ย มอแกนและมอแกลนมีภาษาใกล้เคียงกันมาก ส่วนภาษาอูรักลาโว้ยนั้น แม้จะเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเชียนเหมือนกัน แต่ก็พูดกับมอแกนและมอแกลนไม่รู้เรื่อง เพราะมีศัพท์และสำเนียงต่างกัน อูรักลาโว้ยและมอแกลนตั้งหลักแหล่งค่อนข้างถาวร และมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปค่อนข้างมากจนกลายเป็นคนไทยไปแล้ว และมักถูกเรียกขาน (รวมทั้งเรียกตนเองว่า) “ไทยใหม่”

กลุ่มแรก มอแกลน หรือพวกสิงบก มีถิ่นฐานอยู่ที่เกาะพระทอง อ.คุระบุรีจ.พังงา และตามชายฝั่งทะเล จ.พังงา และแหลมหลา อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

กลุ่มที่สอง อูรักลาโว้ย ชนกลุ่มใหญ่มีถิ่นฐานอยู่บนเกาะสิเหร่ และ หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต  จนถึงทางใต้เกาะพีพีดอน เกาะลันตาใหญ่ จ.กระบี่, เกาะอาดังเกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี จ.สตูล และบางส่วนอยู่ที่เกาะลิบง จ.ตรังกลุ่ม

สุดท้าย มอแกน หรือสิงทะเล มีถิ่นฐานอยู่ที่เกาะพระทองและหมู่เกาะสุรินทร์ อ.คุระบุรี   จ.พังงา  เกาะสินไหและเกาะเหลา จ.ระนอง รวมทั้งหมู่บ้านของอูรักลาโว้ย ที่หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต และเกาะพีพี จ.กระบี่

ชนเผ่ามอแกน

ชนเผ่ามอแกน


ชนเผ่ามอแกน เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเกาะในบริเวณภาคใต้ของไทย มีรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมทั้งค่านิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นของตนเอง ใช้ชีวิตเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่น ทำมาหากินอยู่ในบริเวณเขตทะเลอันดามัน ชีวิตส่วนใหญ่ของชาวมอแกนอาศัยอยู่บนเรือที่พวกเขาเรียกว่า “ กำบาง ” หากินกับทะเล งมหอย ตกปลา จับปูและสัตว์ทะเลต่าง ๆ อาหารหลัก คือเผือกมัน มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับฤดูกาลจากอิทธิพลของลมมรสุมในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ (เดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน) ซึ่งมีคลื่นลมจัด ชาวมอแกนจะอพยพขึ้นมาสร้างบ้านเรือนตามเกาะหรือบริเวณชายหาดที่มีอ่าวกำบังคลื่นลมเพื่อหลบลมพายุ
ชาวมอแกนยังคงหากินกับทะเลเหมือนเช่นบรรพบุรุษ และเนื่องจากชาวมอแกนเป็นคนกลุ่มน้อย เป็นคนไม่มีสัญชาติ และไม่มีเชื้อชาติ ชาวมอแกนไม่มีความรู้ ไม่ได้รับการศึกษาทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชาวมอแกนยังคงเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อยของประเทศไทย และเพื่อให้ชาวมอแกนมีความรู้ สามารถติดต่อสื่อสารกับคนไทยได้ อย่างถูกต้องและเข้าใจชาวมอแกนมีพิธีประจำปี คือ การฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ (เหนียะเอนหล่อโบง) มอแกนจะมารวมกันเพื่อบวงสรวงบูชาวิญญาณให้ปกป้องคุ้มครองพวกตน ในระหว่านั้นมอแกนจะหยุดพักการทำมาหากิน ในพิธีกรรม จะประกอบด้วยการเข้าทรงเสี่ยงทาย การเล่นดนตรี ร้องรำ ทำเพลง และมีการลอยกำบางจำลอง ถือว่าเป็นการลอยความทุกข์และโรคภัยไข้เจ็บให้พ้นจากครอบครัว จากชุมชน นอกจากนี้ มอแกนยังมีความเชื่อดั้งเดิมซึ่งเน้นวิญญาณนิยม เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งรวมทั้งผีบรรพบุรุษและผีต่างๆ ในธรรมชาติ มีอำนาจในการให้เกิดผลร้ายผลดี ปกป้องคุ้มครองหรือทำให้เจ็บป่วยได้ ดังนั้นจึงต้องแก้ไขการเยียวยาด้วยการเข้าทรง และเซ่นไหว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มอแกนจะใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคด้วยในด้านของสังคมการครองเรือน ชายหญิงมอแกนมักจะแต่งงานอยู่กินตั้งแต่อายุยังน้อย ยึดประเพณีผัวเดียวเมียเดียว จะไม่เปลี่ยนคู่ครองนอกจากสามีหรืออภรรยาเสียชีวิตลง หรือมีปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจึงแยกจากกัน ลูก ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในครอบครัว มอแกนแต่ละครอบครัวจะมีลูกประมาณ 2-5 คน เนื่องจากความห่างไกลจากการบริการพื้นฐานสาธารณสุขทำให้จำนวนประชากรมอแกนค่อนข้างจะคงที่

ภาษา

ลำดับที่ ภาษาเขียน ความหมาย
1. อู่ดู่ถ่อง มะ สวัสดี ครับ/ค่ะ
2. น้อจ้อซะโด เมี๊ยหล่า คุณสบายดี หรือเปล่า
3. น้ออ่าก๊า แนล้าเถ่ คุณมาจาก ไหน?
4. ง้าเจ่ห่า แนล๊าเอ ผม/ฉัน มาจากเชียงราย
5. น้ออ่าก๊า อี้แวยเอ คุณกำลังจะ ไปไหน?
6. หน่อเอ ชอเมี๊ยอ่าโย้ยคุเท คุณชื่อ อะไร?
7. หง่าเออช อเมี๊ย…อาผ่า…แล้คุเอ ผม/ฉัน ชื่อ…อาผ่า…ครับ/ค่ะ
8. กื่อหล่อ งหื่อมะเต ขอบคุณ ครับ/ค่ะ
9. อิ้จุด้อ เออ ดื่มน้ำ
10. ห่อจ่าจ่า เออ กินข้าว
11. หว่อม๊ะเด ลาก่อนนะ
12. หงาแปชอปา ยาแม๊โล่/หล่า ช่วยฉัน หน่อยได้ไหม?
13. อ๊ะแมย เนี๊ย เท่าไหร่?
14. ยาถ่อง โจ้วก่าหล่าห่าแช้เมี๊ย ยินดีที่ ได้รู้จัก
15. อี่นอง วันนี้
16. มี๊นอง เมื่อวานนี
17. อ๊ะมยาง เมื่อไหร่?
18. อ่าก้า ที่ไหน?
19. อ่าก๊าอี๊ เท ไปไหน?
20. อ่าเจ่มิแน ทำไม?
21. ถี่เจ่หม่า เงอะ ไม่เป็นไร
22. ง้าหนองก่า ยะ/เออ ฉันรักเธอ
23. งาแบ กล้วย
24. มะป่าว มะพร้าว
25. สี่โล้ว ส้ม
26. ติ นยิ ซุ้ม โอว่ หง่า
โกะ สิ แหยะ โวย่ เช้
นับเลข 1-10 (ทำปากให้เหมือนนะจ๊ะ)

การแบ่งกลุ่ม

ประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

1. อู่โล้อ่าข่า

อู่โล้อ่าข่า หรืออ่าข่าไทย เป็นกลุ่มอ่าข่าที่เข้ามาประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก เข้ามาทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่นเข้ามาที่ดอยตุง แม่ฟ้าหลวง กลุ่มนี้มีมากที่สุดในจังหวัดเชียงราย กระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆ เช่นเชียงใหม่ จากการศึกษาพบว่าหมู่บ้านอู่โล้อ่าข่า ซึ่งเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย และมีโอกาสได้รับการพัฒนาจากรัฐบาลไทย มี 2 ชุมชน คือ บ้านอ่าข่าดอยแสนใจ อำเภอแม่ฟ้าหลวง และบ้านอ่าข่าดอยสะโง้ะ อำเภอเชียงแสน ซึ่งสองชุมชนนี้เป็นชุมชนอ่าข่าอู่โล้ที่ได้มาตั้งยาวนานหลายชั่วอายุคน สาเหตุที่ต้องเรียกกลุ่มนี้ว่า อูโล้ หมายถึง หมวกหัวแหลม สามารถแยกคำได้คือ อู่ ย่อมาจากคำว่า อู่ดู่ หมายถึงหัว โล้ หมายถึงกลมแหลมสูง เป็นการตั้งชื่อกลุ่มตามลักษณะการใส่หมวก ซึ่งกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่เด่นที่สุดในการใส่หมวกอ่าข่า

ประชากรอู่โล้อ่าข่าเป็นกลุ่มอ่าข่าที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีประชากรรวมราวประมาณ 32,500 คน กระจ่ายอยู่ 5 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และตาก ศาสนาและความเชื่อ อู่โล้อ่าข่า ส่วนมากยังนับถือประเพณีดั้งเดิมอยู่ กราบเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และบางส่วนได้หันไปนับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หมู่บ้านอ่าข่าอู้โล้ที่มีประชากรมากที่สุดคือบ้านแสนเจริญเก่า ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในส่วนภาษาพูดที่กลุ่มอู่โล้ใช้ ถือเป็นภาษาที่มาตรฐานและเป็นกลางในการสื่อสารกันกับอ่าข่าประเภทอื่นๆ ทั่วไป

2. ลอมี้อ่าข่า

การที่คนอ่าข่ากลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “ ลอมี้อ่าข่า ” เพราะตอนอยู่ประเทศพม่าในเขตเชียงตุง ได้อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ที่มีชื่อว่า “ ม่อนดอยหมี ” หรือเรียกเป็นภาษาอ่าข่าว่า “ ม่าหล่าก่อจ่อ ” ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยหมีหรือเรียกเป็นภาษาอ่าข่าว่า “ ฮ่าฮุ้ม ” ในหมู่บ้านม่อนดอยหมีนี้มีชนเผ่าอาศัยอยู่หลายเผ่า เช่น ไทใหญ่ จีน ลาหู่ และอ่าข่า คนอ่าข่ามีจำนวนครัวเรือนในชุมชนนี้มากกว่าหนึ่งพันครอบครัว แต่ด้วยสำเนียงและการเรียกที่ม่อนดอยหมีไม่ชัดเจนจึงเรียกเพี้ยนมาเป็นดอยลอมี้ ต่อมาได้มีกลุ่มคนจีนที่มีชื่อว่า “ แชแลกวาง ” มาตั้งฐานทัพใกล้กับดอยที่อ่าข่ากลุ่มนี้อาศัยอยู่ ต่อมาฐานทัพจีนถูกตีแตกโดยทหารพม่าและไทใหญ่ที่เข้ามาจากเชียงตุง ทำให้อ่าข่ากลุ่มนี้แตกและอพยพหนีสงครามลงมา ในปีม้า หรือเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ กระจายออกมาทางเชียงตุง

ต่อมาอ่าข่ากลุ่มนี้ได้เข้ามาในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในเขตอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย บริเวณบ้านพญาไพร่ลิทู่ (ปัจจุบันบ้านพญาไพรเล่ามาและลิทู่อยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพราะได้แยกเป็นกิ่งอำเภอจากอำเภอแม่จัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้ยกสถานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙) และได้ตั้งชุมชนหมู่บ้านพญาไพรเล่ามา เมื่อได้เข้ามาอยู่ในเมืองไทยอ่าข่ากลุ่มอื่น ๆ เช่น เปี๊ยะอ่าข่า อู่โล้อ่าข่า มักเรียกอ่าข่ากลุ่มนี้ว่า ลอมี้อ่าข่า ซึ่งเรียกตามถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมตอนอยู่ในประเทศพม่ามาเป็นชื่อกลุ่มอ่าข่ากลุ่มนี้

3.ผะหมี้อ่าข่า

กลุ่มผะหมี้อ่าข่าถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอ่าข่าที่ได้ถูกจำแนกประเภทจากด้านภูมิศาสตร์จากที่อยู่อาศัย ในเมืองไทยมีชื่อเรียกอ่าข่ากลุ่มนี้หลายชื่อ เช่น หละบื่ออ่าข่า หรืออ่าข่าจีน แต่ในประเทศจีนและประเทศพม่า อ่าข่ากลุ่มนี้เรียกตนเองว่า “ อู่เบี่ยะอ่าข่า ” แปลเป็นไทยว่ากลุ่มอ่าข่าที่ใส่หมวกแบนเพราะลักษณะการใส่หมวกแบนออกสองข้างหัว ในประเทศจีนเรียกกลุ่มอ่าข่านี้ว่า “ หม่อโป๊ะกู่ ” แปลว่าอ่าข่ากลุ่มที่มีตระกูลหม่อโป๊ะ บรรดากลุ่มอ่าข่าด้วยกันยอมรับอ่าข่ากลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการค้าขาย หากจะกล่าวว่าเป็นกลุ่มอ่าข่าที่เป็นพ่อค้าคงไม่ผิด จากลักษณะนิสัยชอบค้าขาย ทำงานขยันขันแข็ง หนักเบาเอาสู้ ในเมืองไทยอ่าข่ากลุ่มนี้นิยมส่งลูกหลานเรียนภาษาจีนและส่งไปทำงานในประเทศไต้หวัน

ผะหมี้อ่าข่าที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นชุมชนใหม่ มีเพียงจังหวัดเชียงรายและบางส่วนอพยพกระจายไปอยู่ที่จังหวัดตาก ที่เชียงรายประกอบไปด้วยชุมชนบ้านผาหมี บ้านผาฮี้ บ้านกิ่วสะไตเหนือและใต้ บ้านหล่อชา และบ้านแม่จันใต้ ส่วนที่จังหวัดตากอยู่ที่บ้านร่มเกล้าสหมิตร

4.หน่าค๊าอ่าข่า

หากกล่าวถึงกลุ่มอ่าข่า ผู้คนส่วนใหญ่มักนึกถึงกลุ่มอู่โล้อ่าข่าที่ใส่หมวกแหลม ๆ ตั้งฉากลักษณะตรง เพราะกลุ่มอ่าข่านี้มีจำนวนมากและมักพบได้ทั่วไปในเขตภาคเหนือของประเทศไทย แต่ยังมีกลุ่มอ่าข่าอีกหลายกลุ่มยังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป อาจด้วยจำนวนประชากรน้อย ลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ขี้อาย หรือแม้กระทั่งการปกปิดตัว อย่างไรก็ตามในประเทศไทยในปัจจุบันมีกลุ่มอ่าข่าอยู่มากถึง ๘ กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีที่มาเหมือนกันนั่นคือมีบรรพชนเริ่มจาก “ จึ ” แต่ด้วยเหตุผลใดยังไม่เป็นที่แน่ชัดถึงความต่างของอ่าข่ากลุ่มเหล่านี้ มีความต่างในด้านภาษา ความเชื่อ การแต่งกาย ตลอดถึงพิธีกรรมบางอย่าง การเรียกชื่อแต่ละกลุ่มจึงมีความต่างกันไป บางส่วนก็ตามชื่อผู้นำ ชื่อที่อยู่อาศัยเดิม ลักษณะการแต่งกายและตามการแยกสายบรรพชนของอ่าข่า

หน่าค๊าอ่าข่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอ่าข่าในประไทยที่ทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ที่มาของการเรียกชื่ออ่าข่ากลุ่มนี้ว่า “ หน่าค๊าอ่าข่า ” เนื่องจากชื่อนี้เป็นชื่อแม่น้ำเดิมที่เคยอาศัยตอนอยู่ในประเทศพม่าในบริเวณลุ่มแม่น้ำหน่าค๊า เมื่ออ่าข่ากลุ่มนี้ไปอาศัยในบริเวณนั้น ก็ได้ชื่อว่า หน่าค๊าอ่าข่าตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน

5. เปี๊ยะอ่าข่า

ปกติอ่าข่ากลุ่มนี้เรียกตนเองว่าอู่โล้ด้วยเพราะการแต่งกายมีหมวกแหลม ลักษณะตั้งฉากตรง และเป็นหนึ่งในสามกลุ่มอ่าข่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่มีลักษณะการใส่หมวกแหลม นอกเหนือจากอ้าจ้อ และอู่โล้ โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับกลุ่มอู่โล้อ่าข่ามาก ไม่ว่าจะเป็นการเย็บผ้า ลายเย็บผ้า คำพูด สำเนียง การประกอบพิธีกรรมฯลฯ อาจมีความต่างในบางจุด เช่น หมวกที่สั้นกว่ากลุ่มอู่โล้อ่าข่า อ่าข่ากลุ่มนี้ หากนับจาก จึ หรือการร่ายชื่อบรรพบุรุษแยกจากจอเจ่อ เจ่อเหว่ย เช่นเดียวกันกับอู่โล้ , ลอเมี๊ยะ การที่อ่าข่ากลุ่มนี้ได้ชื่อว่าเปี๊ยะอ่าข่า เพราะผู้นำที่นำชนกลุ่มนี้ มีตำแหน่งสมัยอยู่ในดินแดนไทยใหญ่เป็น “ เปี๊ยะ หรือพญา ” อ่าข่าที่เข้ามาในเมืองไทย เกือบทั้งหมดมาทางสายเจ่อเหว่ย จะมีเพียงอ้าจ้าอ่าข่าเท่านั้นที่มาทางเจ่อจ้อ

เปี๊ยะอ่าข่า คือคำนำหน้าที่กลุ่มอ่าข่าได้ขนานนามตามชื่อผู้นำสมัยก่อน โดยดูจากความแตกต่างและสำเนียง ผู้นำเปี๊ยะมีชื่อเป็นภาษาอ่าข่าว่า “ อ้าผ่า ” เมื่อตำแหน่งและชื่อมารวมกันจึงเป็นเปี๊ยะอ้าผ่า ต่อมามีการเรียกชื่อเพี้ยน และมีการแปลชื่อเปี๊ยะ ซึ่งแปลว่าพญา กับคำเพี้ยนอ้าผ่ากลายเป็นไพร เมื่อรวมกันจึงเป็น “ พญาไพร ” เป็นที่มาของกลุ่มอ่าข่าเปี๊ยะและบ้านพญาไพร ปัจจุบันพญาไพรได้มาเป็นชื่อชุมชน และมีหลายหมู่บ้าน เช่นบ้านพญาไพรลิทู่ บ้านพญาไพรเล่ามา บ้านพญาไพรเล่าจอฯลฯ หมู่บ้านดั้งเดิมที่เปี๊ยะอ้าผ่ามาอยู่พร้อมบริวารคือหมู่บ้านพญาไพรลิทู่ เปี๊ยะ อ้าผ่า มีนามสกุลเป็นแบบอ่าข่าคือมาเยอะตะห่อง

6.อ้าเค้ออ่าข่า

เป็นกลุ่มอ่าข่าหนึ่งที่เดินทางมาจากประเทศจีนบริเวณสิบสองปันนา ก่อนเข้าสู่ประเทศพม่าในบริเวณเมืองลา และอพยพกระจายไปอยู่ในเชียงตุง ท่าขี้เหล็กและเข้ามาในเขตไทย ปัจจุบันอ้าเค้ออ่าข่ามีจำนวนมากที่ประเทศพม่า บริเวณตั้งแต่เมืองลาลงไปเมืองว้า เมืองยอง และมีจำนวนหนึ่งหนีเข้ามาประเทศไทย จากการศึกษาไม่พบว่าอ้าเค้ออ่าข่าอาศัยอยู่ในลาว และเวียดนาม การ  ที่กลุ่มอ้าเค้ออ่าข่ามีชื่อกลุ่มแบบนี้เพราะการถูกรุกไล่จากชนชาติอื่นๆ จากการบอกเล่าของ “พิ้มาเน่วส่อ ก๊อคือ” แห่งบ้านอ้าเค้อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พิ้มาเล่าว่า             อ้าเค้อเป็นกลุ่มคนอ่าข่ากลุ่มเดียวที่เข้ามาและมีอยู่ในประเทศไทย แต่เดิมอ้าเค้อใช้ชื่อเรียกตนเองว่า “ อ่อเจยอก๊อคื้อ ” หรือ “ ก๊อคื้ออ่าข่า ” จากการศึกษาการขนานนามของกลุ่มอ่าข่าต่างๆ มักใช้ว่า “ หญ่า ญี่ ” ยกเว้นกลุ่มอ้าเค้ออ่าข่าที่ใช้เรียกว่าอ่อเจยอก๊อคื้อ และชื่ออ้าเค้อมาเกิดขึ้นที่สิบสองปันนาจากการถูกรุกไล่จากชนชาติจีน ไล่อ่าข่ากลุ่มนี้เป็นภาษาจีนว่า “ เขอ ” ซึ่งแปลว่าไป และชนชาติไทยลื้อได้ถามคนอ่าข่ากลุ่มนี้ว่าไปไหน และอ่าข่ากลุ่มนี้ได้ตอบว่า กลุ่มจีนไล่ว่าเขอจึงหนีมา ชนชาติไทยลื้อจึงเรียกอ่าข่ากลุ่มนี้ว่า อ่าข่า “ เขอ ”

เมื่ออพยพเข้ามาในประเทศพม่า อ่าข่ากลุ่มอื่น ๆ ที่เข้ามาก่อนหน้านั้นได้เห็นการแต่งกาย ภาษา และพิธีกรรมที่ต่างจากอ่าข่าทั่วไป และเห็นคนไทยลื้อและไทใหญ่เรียกอ่าข่ากลุ่มนี้ว่าชนเผ่าเขอ จึงเรียกอ่าข่าตามนี้ว่า “ เขออ่าข่า ” และต่อมาได้ถูกเรียกเพี้ยนเป็น “ อ้าเค้ออ่าข่า ” และเรียกมาจนปัจจุบัน

การร่ายชื่อบรรพบุรุษของกลุ่มอ้าเค้ออ่าข่าในเมืองไทยและทั่วโลกแตกต่างจากอ่าข่ากลุ่มอื่น ๆ แต่มีจุดเริ่มต้นที่เดียวกันนั้นคือ “ ซุ้มมิโอ ” จากซุ้มมิโอร่ายมาถึง จาเท่อสี่ แต่ของกลุ่มอ้าเค้อเป็นจาเท่อลี้ อีกจุดหนึ่งตรงที่ ลี้ภูแบ แล้วกระโดดข้ามเป็นอูหย่าโย่ ต่างจากอ่าข่าทั่วไปที่มักร่ายเป็นลี้ภูแบ ภูแบอู แล้วมาอูโย่หย่า ชื่อบรรพชนของกลุ่มอ้าเค้ออ่าข่า จึงหายช่วง “ ภูแบอู ” และมาสลับกันตรง อูหย่าโย่ กับ อูโย่หย่า อีกที ต่อมามาแยกตระกูลใหญ่ตรง เท่อเผอะ กลุ่มอ่าข่าทั้งหมดในเมืองไทยมาทางเท่อเผอะเม้อง แต่อ้าเค้ออ่าข่ามาทางเท่อเผอะโช้ย เท่อเผอะเสาะ เท่อเผอะฮื้อ การที่กลุ่มอ้าเค้ออ่าข่ามีภาษา การแต่งกาย ตลอดถึงวัฒนธรรมหลายอย่างต่างจากกลุ่มอ่าข่าทั่วไปเพราะกลุ่มอ่าข่าแยกสายสัมพันธ์ในด้านจึ ห่างจากกลุ่มอ่าข่าอื่น ๆ มาก ทำให้ภาษา การแต่งกายและอื่น ๆ ห่างเหินจากกลุ่มอ่าข่าอื่น ๆ ตามไปด้วย

7.อ้าจ้ออ่าข่า

การเรียกชื่อกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มอ้าจ้อเพราะว่าตามหลักการนับชื่อบรรพชนอ่าข่า หรือที่เรียกเป็นภาษาอ่าข่าว่า “ จึ ” เป็นลูกหลานของ จ้อเปอะ การเรียกชื่อกลุ่มนี้ว่าอ้าจ้อ เป็นคำเก่าแก่ที่เรียกตั้งแต่สมัยอยู่ประเทศจีน ปัจจุบันทั้งในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว และเวียดนามก็เรียกกลุ่มนี้ว่า อ้าจ้อ การที่มีคนเข้าใจว่าการเรียกขนานนามกลุ่มอ่าข่านี้ว่า อ้าจ้อ ย่อมาจากคำว่า อ้ามาจากอ่าข่า จ้อมาจากย่อจ้อ ซึ่งแปลว่ากลุ่มอ่าข่าที่กลายพันธุ์ ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นความเข้าใจผิด ไม่เป็นความจริง การนับถือบรรพชนของคนอ่าข่ากลุ่มนี้ สามารถนับได้ เจ้อเจ่อ , เจ่อจ้อ , จ้อเปอะ , เปอะจื่อ , จื่อลุ่ม , ลุ่มแอ , เมื่อมาถึงลุ่มแอ มีพี่น้องอีกคน นั้นคือลุ่มแต วันนี้กลุ่มอ่าข่ากลุ่มนี้จึงมีนามสกุลเป็นลุ่มแอ กับลุ่มแต ซึ่งลุ่มแอกับลุ่มแตเป็นพี่น้องกัน และประชากรที่อยู่ในเมืองไทยเป็นเหลนของเจ่อจ้อ สืบต่อ ๆกันมาเป็นรุ่นที่ห้า

8.อู่พีอ่าข่า

การแบ่งกลุ่มประเภทของคนอ่าข่า เกิดจากหลายสาเหตุ และหนึ่งในเหตุผลหลักคือการ  แต่งกายของผู้หญิง จากเครื่องประดับ ความสวยงามและลักษณะทรงหมวก เป็นที่มาของการแบ่งกลุ่มที่หลากหลายในปัจจุบัน การจำแนกกลุ่มอ่าข่าด้วยปัจจัยการแต่งกาย ไม่พบว่าคนอ่าข่าเคยแบ่งกลุ่มเพราะความต่างจากเครื่องแต่งกายของผู้ชาย แต่จะพบหลายกลุ่มที่แบ่งตามความต่างการแต่งกายของผู้หญิงที่มีความโดดเด่น สวยงาม และเพียบพร้อมไปด้วยเครื่องประดับทั้งขนสัตว์และเครื่องเงิน

อู่พีอ่าข่าเป็นกลุ่มอ่าข่าที่ถูกแบ่งเพราะการแต่งกายต่างจากกลุ่มอ่าข่าอื่น หากมองเพียงข้างหน้าหมวกที่ผู้หญิงอ่าข่ากลุ่มนี้ประดับ ก็อาจเข้าใจว่าเป็นลอเมี๊ยะอ่าข่า เพราะมีความเหมือนกับการแต่งกายของคนอ่าข่าลอเมี๊ยะมาก กล่าวคือมีลูกต้มกลมห้อยเรียงลงมาเหมือนกัน แต่หากมองและสังเกตอย่างละเอียดจะพบว่า มีหลายจุดที่ต่างกัน เช่น หมวกด้านหลังของกลุ่มลอเมี๊ยะมีแผ่นเงินในลักษณะตรง ขณะที่กลุ่มอู่พีอ่าข่ามีหมวกแหลมกลมข้างหลังห้อยลงบริเวณคอ 

การเรียกชื่อกลุ่มว่า “ อู่พี ” ก็ถูกจำแนกจากลักษณะการแต่งกายตรงหมวกนั่นคือ คำว่า “ อู่ ” มาจากคำเต็มว่า “ อู่ตู่ ” แปลว่าหัว และ ” พี ” เป็นคำโดด ที่มีความหมายว่าแบก เมื่อมารวมกันคำว่า “ อู่พี ” จึงหมายถึงกลุ่มอ่าข่าที่มีการแต่งกาย (หมวกผู้หญิง) ในลักษณะการแบก

 

Previous Older Entries Next Newer Entries

Enter your email address to subscribe to this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 7 other subscribers