การเต้นรำของเผ่าอาข่า

เพลงดอกไม้หนึ่งช่อ อาข่า

ประเพณีโล้ชิงช้า

การเต้นของเผ่าอาข่า

เพลงประสานเสียงเด็กชาวเขา

ดาราอั้ง

ชนเผ่าดาราอั้ง แปลว่าชนเผ่าที่ชอบอยู่บนภูเขา ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของชนเผ่านี้ ปกติชนเผ่านี้เรียกตนเองว่า ดาราอั้ง ส่วนชื่อปะหล่องนั้นเป็นชื่อที่ชนกลุ่มพม่าขนานนาม โดยทั่วไปชนกลุ่มนี้ไม่ชอบให้เรียกว่า ปะหล่องด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ใช่ภาษาตนเอง ทั่วโลกมีดาราอั้งอยู่ ๓ แบบ คือ ดาราอั้งว่องหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าดาราอั้งดำ กลุ่มนี้แต่งกายคล้าย ๆ กับลาหู่แชแล ดาราอั้งเหร่งหรือดาราอั้งแดงและดาราอั้งลุ่ยหรือดาราอั้งขาว สำหรับชนเผ่าดาราอั้งทั้ง ๓ กลุ่ม มีความแตกต่างกัน เช่น ภาษา จะมีการออกเสียงหนักและเบาต่างกัน ตลอดถึงการออกเสียง ซึ่งบางกลุ่มเน้นเสียงสูง มีบางกลุ่มที่เน้นเสียงต่ำ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามีความต่างกันในด้านการพูดและการแต่งกายแต่ก็สามารถสื่อสารกันได้ ปัจจุบันชนเผ่าดาราอั้งอยู่ในประเทศพม่า (ที่น้ำสังข์ เชียงตุง และเมืองกึ่ง) ประเทศจีนและประเทศไทย ในส่วนประเทศไทยนั้นล้วนแต่เป็นดาราอั้งเหร่งหรือแดง

ชนเผ่าลาหู่

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง              จ.เชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล  ลาหู่บาลา เป็นต้น

ปัจจุบันในประเทศไทยมีชนเผ่าลาหู่อาศัยอยู่ราว 1.5 แสนคน โดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย – พม่ากว่า 800 หมู่บ้าน พื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยอยู่มากได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง โดยเฉพาะตามพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่น ๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย

ชนเผ่ามลาบรี (ตองเหลือง)

ชนเผ่ามลาบรี (ตองเหลือง)

ชนเผ่าตองเหลือเรียกชื่อเชื้อชาติของตนเองว่า “ มลาบรี” มีความหมายว่า “ คนป่า” สำหรับคำว่า ” ผีตองเหลือง” นั้นเป็นชื่อเรียกของชาวบ้านคนไทยทางภาคเหนือ ที่ใช้เรียกชนกลุ่มนี้ เนื่องจาก ชนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมเร่ร่อน เสาะหาแหล่งอาหารโดยการล่าสัตว์ และเก็บพืชผักผลไม้ตามที่ต่าง ๆ ในป่ามารับประทาน ที่พักหรือบ้านก็สร้างเป็นเพิงหลังคามุงด้วยใบตอง สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยในระหว่างหาอาหาร เมื่อแหล่งที่อยู่อาศัยนั้นมีอาหารไม่เพียงพอ ก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่นเพื่อหาอาหารต่อไป และเป็นความบังเอิญที่ว่าชาวบ้านในแถบนั้นเคยพบชนกลุ่มนี้ตั้งแต่เริ่มสร้าง ที่อยู่และสังเกตว่า เมื่อใบตองเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ก็จะย้ายหนีไป ประกอบกับลักษณะนิสัยของเขาเมื่อได้พบกับคนไทยหรือคนเผ่าอื่นที่ไม่รู้จัก กัน ก็อพยพหลบหนีทันที จึงถูกเรียกชื่อว่า “ ผีตองเหลือง”

ขมุ

ชนเผ่าขมุ (Khamu)

ขมุ แปลว่า “ คน” เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตัวเอง ในประเทศลาวเป็นแหล่งใหญ่ที่มีชาวขมุ จะเรียกชาวขมุว่า “ ลาวเทิง” หรือลาวบนที่สูง ในประเทศไทย ชาวขมุเข้ามานานพอสมควร อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี เป็นต้น บางทีก็เรียกว่า “ ข่า” ชาวขมุ แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม ตามลักษณะการใช้ภาษาและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ คำที่ชาวขมุใช้เรียกพวกกันเองแต่ต่างกลุ่มคือ “ ตม้อย” โดยจะใช้ลักษณะเฉพาะของกลุ่มนั้นๆ ต่อท้าย เช่น ตม้อยปูลวง(ชาวขมุจากหมู่บ้านที่อยู่เดิม) ตม้อยดอย(ชาวขมุจากเขตภูเขา) ตม้อยลื้อ(ชาวขมุที่อยู่ในกลุ่มพวกลื้อ) ฯลฯ

ส่วย

ชาวกูย (Kui) กวย (Kuoy) ส่วย (Suay)

ชาวกูยมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา ชาวกูยเคยเป็นรัฐอิสระ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 เคยส่งทูตมาค้าขายกับอยุธยา และเคยช่วยกษัตริย์เขมรปราบขบถ ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางทหารปราบชาวกูยและผนวกอาณาจักรเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของเขมร ชาวกูยชอบการอพยพ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก ชาวกูยอพยพขึ้นเหนือเข้า สู่เมืองอัตตะบือ แสนปาง จำปาศักดิ์ และสารวัน ทางตอนใต้ของลาว อพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน ทางด้านแก่งสะพือ อำเภอโขงเจียม

หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูยแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ชาวกูยอพยพเข้าประเทศไทยครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ.2245-2326) ชาวกูยที่อพยพมา มีหัวหน้าของตัวเอง คนไทยเรียกชาวกูยว่า เขมรป่าดง ชาวกูยเรียกตัวเองว่ากุย กูย โกย หรือกวยซึ่งแปลว่า “คน” ปัจจุบันพบชาวกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และสุพรรณบุรี

ชาวกูยมีการนับถือผีและศาสนาพุทธผสมกัน ภายในชุมชนมีทั้งวัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน ชาวกูยยังนับถือวิญญาณ ได้แก่ ภูติผีปีศาจเจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขา เป็นต้น ชาวกูยยังเชื่อเรื่องผีปอบ และเรื่องขวัญในหมู่บ้าน จะมีแม่เฒ่าทำหน้าที่ดูแลความเจ็บไข้ ชาวกูยเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผีจึงมีการอ้อนวอนให้ผีพอใจ โดยมีการรำผีมอ ผู้ที่จะรำผีมอต้องผ่านพิธีไหว้ครู ครอบครู

ชาวกูยนิยมเลี้ยงช้าง ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ชาวกูยจะออกไปจับช้างในป่าด้วยการคล้องช้าง เรียกว่า “โพนช้าง” เป็นการจับช้างโดย หมอช้าง ใช้บ่วงมาศที่เรียกว่า “เชือกปะกำ” ทำจากหนังควาย ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สิงสถิตของดวง วิญญาณ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์คล้องเท้า ช้างแล้วผูกกับ ต้นไม้ และนำมาฝึกใช้งาน

การแต่งกายของชาวกูย หญิงสูงอายุจะนุ่งผ้าที่มีลายใส่เสื้อคอกระเช้า ใส่สร้อยคอลูกปัด เงิน นิยมใส่ดอกไม้หอมไว้ที่ ติ่งหู ชาวกูยนิยมทอผ้า เช่น ผ้าจิกกะน้อย เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผ้าหางกระรอกมีสีเดียวเป็นผ้า สำหรับผู้ชายนุ่งในพิธีสำคัญ ๆ ลักษณะการนุ่งจะนุ่งพับจีบด้านหน้า เหมือนการนุ่งโสร่ง ผ้านุ่งสตรีนิยมทอหมี่คั่นเป็นทางแนวดิ่งยืนพื้นสีน้ำตาลอมมีหัวซิ่น พื้นสีแดงลายขิด ตีนซิ่นสีดำมีริ้วขาวเหลืองแดง ผ้าจะกวี เป็นผ้าคล้ายอันลูซีมของเขมร มีลายทางยาวเป็นผ้าที่สตรีใช้นุ่งในงานสำคัญ ๆ

Previous Older Entries

Enter your email address to subscribe to this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 7 other subscribers