การตาย

ก่อนที่ผู้ชราเมี่ยนจะสิ้นลมบรรดาลูกชายจะต้อง ชุมนุมกันพร้อมหน้า และผลัดกันยกศีรษะบิดาคนละสามครั้งพร้อมกับกล่าวว่า ไปดีเถอะพ่อ เพื่อให้บิดาได้ตายอย่างสุขสงบ ทันทีที่สิ้นลมลูกชายคนโตจะปิดตาผู้ตายให้สนิท และใส่เหรียญเงินหรือก้อนเงินไว้ ในปากศพ ตามความเชื่อว่าการทำเช่นจะทำนี้ให้ผีมี ปากที่มีค่า และจะพูดแต่วาจาที่ไพเราะซื่อตรง จากนั้นจึงจัดการอาบน้ำศพและแต่งตัวศพให้เรียบร้อย และนำไปไว้บนฟากตั่งหน้าศาลบรรพชนซึ่งให้เท้าชี้ไปทางประตูใหญ่

สิ่งแรกที่ควรทำคือยิงปืน 3 นัดก่อนที่จะสิ้นลม เพื่อเป็นการส่งวิญญาณของผู้ตายและเป็นการแจ้งให้ผู้อื่นทราบ ชาวบ้านจะหยุดทำไร่นา และจะส่งผู้ช่วยมาช่วยจัดงานบ้านละ 1 คน แล้วบรรดาญาติมิตรก็ประชุมกันเพื่อจัดงานศพเตรียมเงินกงเต็ก (เงินผีหรือกระดาษ) ล้มหมู และเตรียมข้าวเตรียมเหล้าไว้ ให้พอเลี้ยงแขกที่มาช่วยงาน คนในบ้านจะส่งผู้ใหญ่ 1 คน เพื่อหาอาจารย์มาประกอบพิธีกรรม เมื่อหาอาจารย์ประกอบพิธีได้แล้ว อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมจะเลือกบุรุษ 6 คนเพื่อมอบหมายให้ทำโลงศพ ก่อนออกจากบ้านช่างทำโลงศพเหล่านี้จะบอกคนตายให้ทราบว่าจะไปทำอะไร และขอให้ผีช่วยในการเลือกไม้มาทำโลงด้วย

เมื่อนำโลงที่ทำเสร็จ แล้วกลับเข้ามาในหมู่บ้าน ก็จะต้องตะโกนเข้าไปในบ้านผู้ตายว่า มีใครต้องการบ้านไหม คนในบ้านก็จะต้องรีบตอบกลับไปว่ามีคนต้องการบ้านจริง ๆ จะขายเท่าไหร่ แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายเงินซื้อ ขายโลงกันจริง ๆ แต่ก็จะต้องแสร้งทำเป็นต่อตามราคากันให้ครบขบวนการ แล้วจึงนำโลงเข้าประตูใหญ่ ผู้ประกอบพิธีจะใช้มีดเคาะโลงหลายครั้ง พร้อมกับพรมน้ำมนต์ ขณะกล่าวไล่ผีร้ายซึ่งแอบซ่อนอยู่ในเนื้อไม้ แล้วจึงจะบรรจุศพและปิดฝาโลง ผู้ประกอบพิธีจะพากย์การกระทำทุกขั้นตอนให้ผู้ตายได้รับรู้ว่าเขากำลังทำ อะไรกัน ก่อนเริ่มบทสำคัญของพิธีกรรม บรรดาผู้ประกอบพิธีและบรรดาญาติ ๆ จะต้องไว้ทุกข์ศพด้วยการสวมผ้าคลุมศีรษะสีขาว พิธีงานศพมี 3 วัน 3 คืนจะเริ่มเตรียมการเมื่อวันรุ่งขึ้นของวันที่ตาย การประกอบพิธีจะดำเนินตามขบวนการเรื่อย ๆ มีตอนหนึ่งที่ผู้ประกอบพิธีต้องวิ่งออกนอกบ้าน และกระโดดขาเดียวกลับเข้ามาในบ้าน โดยมีหุ่นกระดาษหลายตัวผูกติดเท้าข้างที่ยกด้วยเชือกฟาง หุ่นกระดาษเหล่านี้ถือว่าคือขวัญทั้งหลายที่เคยสถิตย์อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างผู้ตาย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้ประกอบพิธีจะโยนไม้ทรง 3 ครั้งต่อหุ่นแต่ละตัว เพื่อพิสูจน์ว่าตัวไหนบ้างที่ชั่วร้าย แล้วผู้ประกอบพิธีจะแทงหุ่นตัวร้ายด้วยดาบไม้ แล้วส่งต่อให้ผู้ช่วยผู้ประกอบพิธีเฆี่ยนตามธรรมเนียม แล้วจากนั้นจึงนำไปใส่เรือซึ่งทำด้วยใบตองวางรออยู่ที่ระหว่างหิ้งผีกับ ประตูใหญ่นอก เพื่อให้ผู้ตายรู้ว่าได้แตกแยกจากโลกมนุษย์สู่ปรโลกแล้ว หลังจากนั้นก็ลากเรือออกทางประตูใหญ่ไปปล่อยลงทะเล ซึ่งคำว่าทะเลในความหมาย คือ ป่านอกเขตหมู่บ้านแล้วเผาเสีย (ที่ใช้เรือเชื่อกันว่า วิญญาณร้ายสามารถเดินทางบกกลับมาได้ แต่ไม่สามารถข้ามน้ำมาได้) บทสวดศพที่ผู้ประกอบพิธีร่ายนั้นเต็มไปด้วยข้อความร้องขอให้วิญญาณของผู้ตาย ได้เข้าร่วมภพกับบรรพชนทั้งหลาย

ในตอนท้ายของพิธึกรรมจึงได้ปลดแถบยาวซึ่งแขวนอยู่เหนือเทวภาพทั้งหลายออก ใช้เป็นสะพานโดยวางพาดกับบันไดปลายข้างหนึ่ง ติดกับโรงศพอีกข้างหนึ่ง ติดกับผ้าสีฟ้าซึ่งดึงทะลุหลังคาไป ผูกกับปลายไม้ไผ่ลำยาวสูงลิ่ว ผู้ประกอบพิธีจะปีนบันไดขึ้นไปส่งวิญาณถึงหลังคาสั่งเสียอำลา และแนะนำขั้นตอนการเข้าอยู่

ในภพใหม่อย่างแจ่มแจ้งในวันที่ 3 คือ วันเผาศพ เมื่อเสร็จพิธีในบ้านแล้ว ก็ได้เวลาที่ผู้ประกอบพิธีจะต้องทดสอบด้วยไม้ทรง ให้แน่ใจแล้วว่าผู้ตายจะเข้าร่วมภพบรรพชนได้หรือยัง หากได้ก็จะให้ยกโลงศพออกจากบ้านทางประตูใหญ่ในขณะที่ยิงปืนขึ้น หลาย ๆ นัดผู้ประกอบพิธี และวงดุริยางค์จะนำขบวนศพไปสู่ป่าช้าที่เผาประจำหมู่บ้าน ญาติผู้ชายจะช่วยกันหามโลงศพตามหลัง ดุริยางค์ แล้วญาติ ๆ ที่เดินตามหลังขบวนจะจุดประทัด พร้อมโยนกระดาษตามทางป่าช้าจะอยู่ท้ายหมู่บ้าน เวลาขบวนศพผ่าน หน้าบ้านจะครึกครื้นมาก ผู้ใหญ่จะคอยบอกเด็กที่อยู่บ้าน หรือริมถนนต้องคอยเรียกขวัญตัวเองให้อยู่กับตัว พร้อมกับนำเส้นฟางข้าวมัดติดตัว เพราะเชื่อว่าผีจะได้รู้ว่าคนละภพกัน และที่เรียกขวัญเพราะกลัวว่าขวัญเด็กจะตามไปด้วย เนื่องจากขวัญเด็กเป็นขวัญที่อ่อน

เมื่อไปถึงแล้วตั้งศพเพื่อที่จะเผาแล้ว ญาติผู้หญิงที่สนิทซึ่งนำพ่อไก่มาด้วยในขบวนก็จะอุ้มไก่เวียนรอบโลงศพ 3 รอบ เชื่อว่าได้ถ่ายทอดขวัญของผู้ตายไว้แล้ว จากนั้นเขาจะนำไก่กลับหมู่บ้านเพื่อทำพิธี และจะปล่อยภายใน 3 วันหลังวันเผา ผู้ประกอบพิธีจะท่องคาถาส่งท้าย พร้อมยืนบนโลงศพขณะที่ผู้ช่วยผู้ประกอบพิธีคนอื่น ๆ ร่ายรำรอบ ๆ โลงศพ แล้วพอท่องคาถาจบผู้ประกอบพิธีจึงลงจากโลงศพ แล้วหันหลังให้ศพพร้อมจุดไฟที่มุมทั้งสี่ของโลงศพพอเพลิงลุกดีแล้ว ทุกคนจึงเดินกลับ โดยห้ามหันหลังกลับไปทางที่เผาศพ เพราะเชื่อว่าเดี๋ยววิญาณคิดว่ายังไม่หมดเยื่อใยแล้วจะคอยตามมารังควาญ และมีผู้ประกอบพิธีจะเดินรั้งท้าย พร้อมอธิษฐานให้ประตูหมู่บ้านปิดกั้นภูตผีมิให้เข้าไปรังควาญ ชาวบ้านในยามราตรี หากวิญาณของคนตายมาเข้าฝันญาติพี่น้อง เชื่อกันว่าเป็นเพราะมีสิ่งบกพร่อง ในการทำพิธีศพ หรือวิญาณนั้นหิวก็ต้องรีบจัดการเซ่นไหว้โดยเร็ว หลังจากเผาไว้วันนั้น พอวันรุ่งขึ้นแต่เช้าตรู่ ผู้ประกอบพิธีและญาติผู้ชายจะกลับไปเก็บกระดูก โดยใช้ตระเกียบไม้ไผ่เก็บอัฐิใส่โอ่งเล็ก ๆ ที่เตรียมไว้แล้วนำไปฝังที่ที่สงบ หรือที่ที่วิญาณคนตายอยากอยู่ โดยเมื่อไปถึงที่ที่สงบแล้ว จะต้องนำไก่ 1 ตัว และไข่ดิบ 1 ฟอง เมื่อผู้ประกอบพิธีท่องคาถาเพื่อจะถามวิญญาณ ขณะนั้นก็โยนไข่ไปด้วย เมื่อไข่แตกที่ไหนก็แปลว่าให้นำกระดูกไปฝังที่นั้น จากนั้นก็ฆ่าไก่ทำพิธีแล้วรับประทานที่นั้นเป็นอันว่าเสร็จพิธี

แต่ถ้าเกิดว่าไข่ที่โยนไม่ยอมแตกก็แปลว่าต้องเปลี่ยนที่ใหม่ เพราะว่าวิญญาณคนตายไม่อยากอยู่ที่นั่น จึงต้องโยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าไข่จะแตก ต้องไหว้กระดูก 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะห่างกัน 1 ปี วิญญาณของผู้ตายถ้าบริสุทธิ์สามารถอัญเชิญไปสิ่งสถิตย์ที่หิ้งบูชาผีในบ้าน ได ้แต่สำหรับเด็กที่เสีย ตอนอายุตั้งแต่ 12 ปีลงไป คือ เด็กที่ยังไม่ชวด เปี่ยงเลี่ยม (เปี่ยงเลี่ยม คือ เด็กเล็กที่เหมือนดอกไม้แต่ยังไม่บาน) หลังอาบน้ำศพแล้วพ่อแม่จะมีการหมายปานไว้

เพื่อเกิดมาจะมีปานแดงหรือดำตามที่หมายไว้ สามารถลงผีดูไว้ว่าชาติก่อนเป็นลูกของเราหรือไม่ การประกอบพิธีจะใช้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีเล็กก็ได้ ในการทำพิธีจะมีการ (เสี่ยงจ่าฟิน) ช่วยส่งวิญญาณให้อยู่ในดอกไม้ ดูแลดอกไม้จนดอกไม้บานวิญาณก็จะได้ไปเกิดใหม่ วิญญาณจะยังไม่เป็นผี จะอยู่สวนดอกไม้เพื่อรอเกิด เชื่อว่าสามารถเกิดกับพ่อแม่เดิมได้ สำหรับศพของเด็กผู้ชายที่ไม่ได้ผ่านการบวชหรือศพของ ผู้ตายเกิดจากสาเหตุผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันในการเลือกที่ฝังมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะฝังมากกว่าเผา

อาชีพ

การทำไร่

การ ทำไร่นั้นแทบจะนับได้ว่าเป็นอาชีพหลักของเมี่ยนเลยก็ว่าได้ ในเวลา 1 ปีนั้นเมี่ยนจะทำไร่มากที่สุด เนื่องจากว่า เมี่ยนสามารถผลิตมาเก็บไว้ได้นาน เมี่ยนจะหมุนเวียนการทำไร่ไปในแต่ละปี เมื่อทำการปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่งในพื้นที่ที่เตรียมมาแล้วนั้น ปีต่อไปจะไม่เอาพืชที่เคยปลูกมาแล้วมาปลูกซ้ำอีก โดยจะเอาพื้นที่นั้นไปปลูกพืชอย่างอื่นแทนไปก่อน เมี่ยนเชื่อว่าถ้าเอาพืชมาปลูกพื้นที่เดียวหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้ดินนั้นไม่อุดมสมบูรณ์ เมี่ยนจะทำการหมุนเวียนอย่างนี้อยู่ประมาณ 2-3 ปี เมื่อดินเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว เมี่ยนก็จะย้ายไปหาที่ทำกินแห่งใหม่ ในช่วงเวลาที่เมี่ยนปลูกพืชหลัก อย่างเช่น ข้าวหรือข้าวโพดอยู่นั้น เมี่ยนก็จะทำการปลูกพืชบางอย่างเล็กน้อยที่เป็นอาหารหลักประจำวัน เช่น ผักกาด หอม ผักชี ฟักต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งการปลูกผักนั้นจะนิยมปลูกบริเวณรอยต่อระหว่างภูเขา เพราะเป็นที่ลุ่มและใกล้ร่องน้ำไหล ดินจะชุ่มชื้นและมีความอุดมสมบูรณ์มาก

การเลี้ยงสัตว์

ใน ระหว่างที่ทำการเพาะปลูกอยู่นั้น เมี่ยนยังทำการเลี้ยงสัตว์ไปด้วย และอาจจะมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละครัวเรือน เมี่ยนมักจะเลี้ยงสัตว์จำพวก หมู ไก่ ม้า สุนัข ฯลฯ ชาวเมี่ยนนิยมเลี้ยงหมูกับไก่มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น เพราะนอกจากจะนำมาประกอบอาหารแล้ว ยังนำหมูกับไก่นี้มาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ด้วย ส่วนการเลี้ยงดูนั้น แต่เดิมแล้วมีการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ให้อาหารเพียงช่วงเช้ากับช่วงเย็น แต่ปัจจุบันได้มีการเลี้ยงเป็นระเบียบมากขึ้นคือ ทำคอกหมูหรือเล้าไก่ เพื่อลดปัญหาสัตว์เลี้ยงที่คุ้ยเขี่ยพืชผักเสียหาย ส่วนม้านั้นจะเลี้ยงไว้ใช้แรงงานเพราะสมัยก่อนนั้น เมี่ยนนิยมใช้แรงงานม้าเป็นแรงงานในการขนส่ง สำหรับสุนัขนั้นเลี้ยงไว้เพื่อช่วยเฝ้าบ้าน และเอาเข้าป่าในยามที่ออกล่าสัตว์

การละเล่น

การละเล่น

ในชีวิตประจำวันของเมี่ยน การละเล่นที่แสดงออกถึงความรื่นเริงตามประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ กล่าวได้ว่าในปัจจุบันแทบจะไม่มีโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะการละเล่นในวัยผู้ใหญ่หรือวัยหนุ่มสาว ส่วนการละเล่นของเด็ก ๆ มีเพียงไม่กี่อย่าง เช่น การเล่นไล่จับกัน ซึ่งเล่นรวมกันทั้งเด็กชายและหญิง การเล่นลูกข่าง การเดินไม้โกงกาง เมี่ยนไม่มีการละเล่นตามประเพณีประจำเทศกาลที่มีรูปแบบชัดเจน โดยเฉพาะการละเล่นของเมี่ยน มักเป็นการละเล่นที่อาศัยเล่นในโอกาสของงานพิธีกรรมต่าง ๆ และก็มักจะเป็นพิธีแต่งงานกับวันปีใหม่เท่านั้น ที่สามารถแสดงการละเล่นได้อย่างสนุกสนานเต็มที่

การละเล่นของเมี่ยน ได้แก่

1. หนังสติ๊ก (ถางกง)

ทำมาจากไม้ เมี่ยนจะนำไม้ประมาณเท่ากับแขนที่ปลายแยกออกจากกัน นำมาแต่งให้สวยและพอกับมือจับ เอาหนังยางมามัดให้สามารถดึงแล้วยิงได้ วิธีการเล่น นำก้อนหินมาวางตรงที่เป็นยาง ดึงแล้วปล่อยใช่เล่นยิงแข่งกัน

2. ปืนไม้ไผ้ (พ้าง พ้าง)

เป็นของเล่นที่เด็กนิยมเล่นกันมาก วิธีการทำ คือ เอาไม้ไผ่ลำใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร มาทำเป็นกระบอกปืน และเหลาไม้อีกอันมาใช้สำหรับเป็นตัวยิง จะนำผลของต้นไม้ชนิดหนึ่งมาเป็นกระสุนในการเล่น เมี่ยนเรียกว่าพ้าง พ้างเปี้ยว

3. กระบอกสูบน้ำ (เฮ้าดงแฟะ)

เป็นการละเล่นอีกอย่างหนึ่งที่ทำมาจากไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่ที่ค่อนข้างแก่ทำเป็นตัวกระบอก และทำที่สูบโดยการตัดรองเท้าแตะเก่า ๆ หรือเอายางมามัดเป็นวงกลมเสีบบกับที่สูบ การเล่นจะใช้กระบอกสูบน้ำขึ้นมาแล้วก็ดันน้ำออกใส่กับเพื่อน ๆ ที่เล่นด้วย จะเล่นในช่วงฤดูร้อน

4.ไม้โกงกาง (ม่าเกะเฮ้า)

ไม้โกงกางทำมาจากไม้ไผ่ ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 2 เมตร ตรงขาเหยียบจะสูงขึ้นมาจากพื้นประมาณ 50 ซม. หรือจะสูงกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเป็นการละเล่นที่ถือว่าสนุกสนานมากในวัยเด็ก สามารถเล่นได้ทุกฤดูกาล วิธีการเล่น คือ ขึ้นไปเหยียบแล้วก็วิ่งแข่งกัน

5. ขาหยั่งเชื่อก (ม่าเกะฮาง)

เป็นขาหยั่งที่ทำมาจากเชือก การละเล่นก็จะนำไม้ไผ่มาตัดเหลือไว้แค่ข้อต่อที่กั้นระหว่างป้องเท่านั้น เจาะรูแล้วนำเชือกสอดทั้ง 2 ข้าง การเล่นก็เหมือนกับขาหยั่งธรรมดาเพียงแค่ใช้ขาเหนีบที่เชือกเท่านั้นเอง

6. ลูกข่าง (ตะโหลย)

การละเล่นลูกข่างเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเป็นการละเล่นของผู้ชาย โดยเมื่อถึงเวลาที่เว้นว่างจากการทำไร่ทำสวน ผู้ชายจะออกจากบ้านตั้งแต่เช้า เพื่อจะไปตัดไม้เนื้อแข็งสำหรับมาทำเป็นลูกข่าง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จะเริ่มทำลูกข่างโดยเหลาปลายไม้ให้แหลม ๆ บางคนจะใส่เหล็กตรงปลาย เพื่อให้ลูกข่างหมุนได้นาน จากนั้นก็จะมาเล่นกัน โดยแบ่งเป็นสองฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้

7. ลูกแก้ว (ปู้สี่)

ลูกแก้วนี้ถือว่าเป็นของเล่นอีกอย่างหนึ่งของเด็กเมี่ยน เมื่อถึงช่วงฤดูกาลหนึ่ง เด็กเมี่ยนก็จะเปลี่ยนของเล่นไปตามฤดูกาลนั้น การเล่นลูกแก้วนี้ก็ถือว่าเป็นอีกอย่างหนึ่งของการละเล่น การเล่นลูกแก้วนี้จะนำลูกแก้วมาตีแข่งกันโดยใช้มือเล่น จะมีหลุมอยู่หลุมหนึ่งเพื่อการเล่น

8. ก้านกล้วย (น้อมจิวแฝด)

จะนำก้านกล้วยมาตัดใบทิ้ง ตัดก้านให้เป็นแฉก ๆ ให้ตั้งขึ้นหลาย ๆ อัน แล้วใช้มือปัดลงเร็ว ๆ ก็จะมีเสียงเกิดขึ้นมาอย่างไพเราะ การเล่นชนิดนี้เป็นการละเล่นที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เด็กเล็ก ๆ จะนิยมเล่นมาก

กาารแต่งงาน

การแต่งงาน


การเลือกคู่ครอง (หล่อเอ๊าโกว)

เมื่อ เริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว อายุประมาณ 15 ปีขึ้นไป ก็เริ่มจะหาคู่ครอง ในการเลือกคู่ครองนั้นเผ่าเมี่ยน ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายเข้าหาฝ่ายหญิง หนุ่มสาวเมี่ยนมีอิสระในการเลือกคู่ครอง หนุ่มอาจจะเข้าถึงห้องนอนเพียงคืนเดียว หรือไปมาหาสู่อยู่เรื่อย ๆ ถ้าทางฝ่ายสาวไม่ขัดข้องก็ย่อมได้เสรี ในการเลือกคู่ของเมี่ยนมีขอบเขตอยู่เพียง 2 กรณีเท่านั้น คือ ควรแต่งกับคนต่างแซ่ หรือบางทีคนแซ่เดียวกัน ถ้าชอบพอกันก็สามารถอนุโรมได้ไม่เข้มงวดมากนัก แต่ที่เข้มงวด คือ ดวงของหนุ่มสาวทั้งสองต้องสมพงษ์กัน โดยทั่วไปแล้วพี่ควรจะแต่งก่อนน้อง หากน้องจะทำการแต่งก่อนพี่ ก็ต้องจ่ายค่าทำขวัญให้กับพี่ที่ยังไม่ได้แต่งงาน เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความรักต่อกัน ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายไปบอกพ่อแม่หรือเครือญาติมาติดต่อสู่ขอตามประเพณีต่อไป

การสู่ขอ (โท้นิ่นแซง)

เมื่อหนุ่มตกลงปลงใจจะแต่งงานกับสาวใดแล้วฝ่ายชาย จะต้องหาใครไปสืบถามเพื่อ ขอทราบวัน เดือน ปีเกิดของฝ่ายหญิง ถ้าพ่อแม่ฝ่ายหญิงยินยอมบอกก็แสดงว่า พวกเขายอมยกให้ หลังจากนั้นก็จะนำเอาวัน เดือน ปี เกิด ของหนุ่มสาวคู่นั้น ไปให้ผู้ชำนาญเรื่องการผูกดวงผู้ชำนาญผูกดวง จะดูว่าทั้งคู่มีดวงสมพงศ์กันหรือไม่ ถ้าดวงไม่สมพงศ์กันฝ่ายชายจะไม่มาสู่ขอ พร้อมแจ้งหมายเหตุให้ฝ่ายหญิงทราบ เมื่อดูแล้วถ้าเกิดดวงสมพงศ์กัน พ่อแม่จึงจัดการให้ลูกได้สมปรารถนา เริ่มด้วยการส่งสื่อไปนัดพ่อแม่ฝ่ายสาวว่า ค่ำพรุ่งนี้จะส่งเถ้าแก่มาสู่ขอลูกสาว แล้วพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะต้องจัดข้าวปลาอาหารไว้รับรอง ระหว่างที่ดื่มกินกันนั้น เถ้าแก่ก็จะนำกำไลเงินหนึ่งคู่ มาวางไว้บนสำรับ เมื่อเวลาดื่มกินกันเสร็จ สาวเจ้าเข้ามาเก็บถ้วยชาม หากสาวเจ้าตกลงปลงใจกับหนุ่มก็จะเก็บกำไลไว้ หากไม่ชอบก็จะคืนกำไลให้เถ้าแก่ ภายใน 2 วัน เถ้าแก่จะรออยู่ดูให้แน่ใจแล้วว่าสาวเจ้าไม่คืนกำไลแล้ว เถ้าแก่จึงนัดวันเจรจา เมื่อถึงเวลาซึ่งวันเดินทางไปนี้สำคัญมาก เพราะมีข้อห้าม และความเชื่อในการเดินทางหลายอย่าง เช่น ขณะเดินทาง ระหว่างทางหากพบคนกำลังปลดฟืนลงพื้น สัตว์วิ่งตัดหน้า ไม้กำลังล้ม คนล้ม ฯลฯ

–     พิธีแต่งงานใหญ่ (ต่ม ชิ่ง จา)

พิธีนี้เป็นพิธีใหญ่ซึ่งจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง คนที่จัดพิธีใหญ่นี้ส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีฐานะดี จะใช้เวลาในการทำพิธี 3 คืน 3 วัน ซึ่งจะต้องใช้เวลาเตรียมงานกันเป็นปี คือ ต้องเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ไว้ให้พอกับการเลี้ยงแขก

วันแรก

ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดคนไปรับเจ้าสาวตั้งแต่ก่อนเช้า โดยจะมีคนเตรียมบรรเลงเพลงประกอบไปด้วย ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดเตรียมสถานที่โดยการจัดม้านั่งเป็นวงกลมไว้ และขบวนของเจ้าสาวนั้นจะมี 1 คน ถือปลายผ้าเช็ดหน้า เพื่อจูงมือเจ้าสาวซึ่งอาจเป็นน้องของเจ้าสาว ส่วนน้องชายของเจ้าสาวอีก คนหนึ่ง จะทำหน้าที่แบกสัมภาระของเจ้าสาวที่จะต้องนำมาใช้ในบ้านเจ้าบ่าว อีกคนจะมีหน้าที่กางร่มให้เจ้าสาว เพื่อนเจ้าสาวแต่ละคนจะแต่งตัวด้วยชุดชนเผ่าเต็มยศเช่นกัน เมื่อขบวนของเจ้าสาวมาถึง จะยังไม่ได้นั่งจะให้ยืนอยู่กลางวงก่อน โดยจะมีเพื่อนเจ้าสาวสองคนคอยยืนล้อมรอบเจ้าสาว วงดุริยางค์ จะเล่นดนตรีวนทั้ง 3 คน แล้วจะแห่สอดแทรกเข้าไปรอบ ๆ เจ้าสาว และทำความเคารพ

โดย คำนับ 3 ครั้งฝ่ายเจ้าสาวจะโค้งคำนับตอบ 3 ครั้งเช่นเดียวกัน จะคำนับทั้งหมด 4 รอบจึงจะหยุด ระหว่างนั้นฝ่ายต้อนรับจะนำเอาน้ำชา เหล้า บุหรี่มาเพื่อเป็นการต้อนรับ และขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน จากนั้นก็นำน้ำร้อนที่ได้เตรียมไว้เพื่อให้แขกล้างหน้า พอแขกล้างหน้าเสร็จ จะเอาผ้าเช็ดหน้าที่ตัวเองล้างเอากลับไปบ้าน พร้อมกับวางเงินไว้ในถาดจะเท่าไหร่ก็ได้เพื่อเป็นธรรมเนียม เสร็จแล้วก็ร่วมรับประทานอาหารที่ได้จัดไว้ ระหว่างนั้นเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะยกน้ำชาเหล้าไปให้แขกรอบงาน พอมอบให้แขกแล้วเมื่อแขกดื่มเสร็จจะวางเงินไว้ในถาด เท่าไหร่ก็ได้เพื่อเป็นธรรมเนียม จากนั้นจะแยกกันไปผักผ่อนตามที่พักที่ทางฝ่ายเจ้าบ่าวได้จัดไว้ ส่วนเจ้าสาวจะยังไม่ได้เข้าไปในบ้านของเจ้าบ่าว โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะทำเพิงพักให้กับเจ้าสาว ที่พักของเจ้าสาวนั้นจะนิยมสร้างห่างจากบ้านเจ้าบ่าวประมาณ 20 เมตร จนกว่าจะถึงฤกษ์ที่ได้กำหนดเอาไว้ คือ วันพรุ่งนี้

วันที่สอง

เจ้าสาวจะต้องตื่นนอนแต่เช้ามืดเพื่อเตรียมตัวทำพิธีตามขั้นตอน แล้วเข้าบ้านเจ้าบ่าว การเข้ามาในบ้านนั้นจะต้องเข้าทางประตูใหญ่ พอเสร็จพิธีกรรมอะไรแล้วก็มีการดื่มกินกันทั่วไป

วันที่สาม

จะเป็นการกินเลี้ยงส่วนใหญ่จะฉลองอย่างเดียวจะไม่ค่อยมีพิธีกรรมอะไร มาก นอกจากการบรรเลงตนตรี เป่าปี่ ตีกลองให้งานสนุกสนานรื่นเริง กลางคืนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะออกมายกน้ำชาให้กับแขกที่มาร่วมงานก็เป็นอันว่า เสร็จพิธี

–    พิธีแต่งงานเล็ก (ชิ่งจาตอน)

พิธีต่าง ๆ จะเป็นการกินเลี้ยงฉลองอย่างเดียวไม่มีพิธีกรรมอะไรมาก จะใช้เวลาทำพิธีเพียงวันเดียว เจ้าสาวไม่ต้องสวมที่คุมที่มีน้ำหนักมาก และพิธีเล็กนี้ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก จุดสำคัญของการแต่งงานของเมี่ยน คือ ตามที่เจ้าบ่าวตกลงสัญญาจ่ายค่าตัวเจ้าสาวกับพ่อแม่ของเจ้าสาวไว้ เพื่อเป็นการทดแทนที่ได้เลี้ยงดูเจ้าสาวมา และฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องบอกวิญญาณบรรพบุรุษของตนเองยอมรับ และช่วยคุ้มครองเจ้าสาวด้วย ประการสุดท้ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องดื่มเหล้าที่ทำพิธี แล้วร่วมแก้วเดียวกัน การแต่งงานของเมี่ยนนั้นจะต้องทำตามประเพณีทุกขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน และเป็นไปในลักษณะที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย

การเกิด

–               การตั้งครรค์
เมี่ยนมีความเชื่อว่าระหว่างที่ทารกอยู่ในครรภ์ขวัญ หรือวิญญาณของเด็กจะมิได้อยู่ในท้องแม่ แต่จะสิงสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในบ้าน และจะย้ายเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือน คือ เดือนหนึ่งและเดือนเจ็ด จะอยู่ทีู่่ประตูบ้าน เดือนสองกับเดือนแปดอยู่ในเตาไฟ เดือนสามและเดือนเก้าอยู่ในครกตำข้าว เดือนสี่และเดือนสิบอยู่ในพื้น
บ้านใกล้้ศาลพระภูม (หิ้งผี) เดือนห้าและเดือนสิบเอ็ดขวัญเด็กจะอยู่ที่เตียงนอน เดือนหกและเดือนสิบสองอยู่ในร่างหรือท้องแม่ เพื่อไม่ให้เกิดการแท้ง หรือเกิดเภทภัยที่จะทำให้เด็กพิการ จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ทำสิ่งใด ๆ มากระทบกระเทือนขวัญของเด็ก เช่น ไม่เอามีดไปสับครกตำข้าว หรือไม่ราดน้ำที่ประตู และไม่บุกรุกเข้าไปในห้องนอนของหญิงมีครรภ์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ขวัญของทารกหนีหายไป

–                   การคลอด
หมอตำแยจะรอให้เด็กออกมาทั้งตัว แล้วจะดึงรกมาวัดให้ยาวจากสะดือลงมาถึงหัวเข่าทารก แล้วเอาด้ายมามัดที่รกใกล้ ๆ กับสะดือ แล้วใช้เปลือกไม้ไผ่ตัดรก ส่วนที่ตัดยังไม่หมด เมื่อรกของเด็กแห้งแล้วหลุดออกมา ให้ นำมาใส่กล่อง หรือกระบอกไม้ไผ่นำมาเก็บไว้บนที่นอน และอุจจาระแรกของทารกจะต้องเอามาห่อเก็บไว้ หากมารดาเป็นหญิงที่ยังไม่ได้เข้าพิธีแต่งงาน เธอจะไม่คลอดลูกในบ้าน จะต้องไปคลอดในเพิงคลอด ซึ่งทำเตรียมไว้ที่บริเวณหน้าบ้านหรือข้างบ้าน เมื่อคลอดบุตรเด็กที่เกิดมาจะถือว่าผีให้มา ซึ่งทุกคนในครอบครัว ยินดีกับสมาชิกใหม่ี้นี้แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว จะคลอดลูกในห้องนอนของตน และ ถือว่าเป็นลูกคนโดยมีแม่ตัวเองหรือแม่สามีคอยดูแลช่วยเหลือ จากนั้นมารดาจึงอุ้มเด็กออกกลางแจ้งเพื่อให้เด็กเห็นเดือนเห็นตะวันเป็น สัญญาณ ว่าทั้งมารดาและทารกปลอดจากสิ่งที่คอยรังควาญทั้งหลายแล้ว พอถึงวันดีก็จะทำพิธีแจ้งวิญญาณบรรพบุรุษว่ามีคนมาเกิดเป็นสมาชิกใหม่ในครอบ ครัวแล้ว หลังจากการคลอดจะต้องฆ่าหมูเพื่อมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้ายังไม่มีพิธีเซ่นไหว้ จะห้ามคนอื่นเข้าบ้านเด็ดขาด โดยจะแขวนเครื่องหมายห้ามเข้าทำด้วยไม้ไผ่ที่ประตูหน้าบ้านเพื่อกันคนแปลกหน้า ที่อาจมาเหยียบขัวญเด็กและอาจทำให้เด็กกระจองอแงได้ หลังคลอดมารดาจะต้องอยู่ไฟสักระยะหนึ่งก่อน ระหว่างนี้จะต้องกินแต่อาหารที่สุกและร้อนควรเป็นไก่ต้มสมุนไพรและข้าวแช่ เท่านั้น แม้แต่ผักสดก็ไม่ควรทาน ในระยะ 10 วันแรก และในเดือนแรกจะต้องไม่ทำงานหนักหรือไปเข้าบ้านคนอื่นเขา เขาจะเจาะฝาห้องนอนเพื่อจะได้ไม่ต้องเดินเข้าออกประตูในบ้าน จนกว่าจะทำพิธีปัดสิ่งคอยรังควาญเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นอาจารย์ประกอบพิธีกรรมจะเลือกเอาวันดีทำพิธีตั้งชื่อ (ทิม เมี่ยน คู้) จะต้องตั้งภายใน 10 วัน หลังคลอดเด็กแรกเกิดจนถึง 12 ปี จะถือว่าเป็นวัยเด็กขวัญของเด็กเป็นแค่ เปี้ยง ถือเป็นขวัญที่ไม่ได้ผูกพันกับวิญญาณมากนัก เมื่อเด็กชายพ้นอายุ 12 ปี และเด็กหญิงอายุ 14 ปี จึงถือว่าพ้นวัยเด็ก จะต้องทำพิธี ชวด เปี้ยง เลี่ยม เมื่อผ่านพิธีนี้แล้วจึงถือว่าเป็นวัยหนุ่มสาว และขวัญของเด็ก (่เปี้ยง) จะถูกยกให้วิญญาณบรรพบุรุษของตระกูลรักษา และมีขวัญของผู้ใหญ่เรียกว่า เวิ่น แทน

พิธีคุ้มครองลูกและแม่ขณะตั้งครรภ์

–                   ทำพิธีแจ้เซด (ป้องกันการเจ็บป่วย)

–                   ทำพิธีบนบานเพื่อขอให้วิญญาณบรรบุรุษช่วยคุ้มครองแม่และลูกให้ปลอดภัย

–                   พิธีออนเปี่ยง (เพื่อป้องกันการแท้งลูก)

การดูแลแม่และลูกหลังคลอด

–                   ทำพิธีสาอุ๋ย (ทำทั้งตัวแม่และเด็ก)

–                   การทำพิธีทิมเมี้ยนคู้

–                   กรณีคลอดในโรงพยาบาล เมื่อถึงบ้านห้ามนำเด็กเข้าทางประตูต้องเข้าทางหน้าต่าง

–                   หลังคลอดลูกต้องนั่งอยู่ที่ข้างเตาไฟ 3 วัน 3 คืน และต้องต้มยาสมุนไพรอาบ

–                   เพื่อเป็นการขับสิ่งสกปรกออกจากร่างกายและเป็นการสมานแผลไปด้วย

–                   ช่วงอยู่เดือนห้ามอาบน้ำเย็นและอาหารที่สามารถรัปประทานได้ต้องต้มอย่างเดียว

การตั้งชื่อ

การตั้งชื่อของเมี่ยนเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะชื่อของแต่ละคนนั้น จะบอกถึงสถานภาพของคนในครอบครัว หรือลักษณะเมื่อแรกเกิดและบ่งชี้ชัดว่าในชื่อหนึ่ง ๆ จะบอกให้ทราบว่าเป็นหญิงหรือชาย เป็นบุตรคนที่เท่าไหร่ และเป็นบุตรของใคร รายละเอียดบางอย่างของเจ้าของชื่อ ไปจนถึงการตั้งชื่อเพื่อเปลี่ยนสถานภาพในวงจรชีวิต ตั้งแต่เกิด แต่งงาน จนถึงตาย การตั้งชื่อจะแบ่งออกเป็นชายและหญิง เช่น ผู้ชายเมี่ยนมีชื่อ 3 ชื่อ คือ

ชื่อเล็ก (ตั้งตอนเกิด) ชื่อใหญ่และชื่อผี ชื่อเล็กมีคำนำหน้าที่ตั้งตามลำดับการเกิดก่อนหลัง หรือตั้งตามลักษณะ การเกิดและใช้พยางค์ท้ายของพ่อ มาเป็นพยางค์ท้ายของชื่อลูก เช่น เก๊า เป็นคำนำหน้าของลูกชายคนโต และพ่อชื่อชุนเอ่ ลูกคนแรกกจะชื่อว่า เก๊าเอ่ เป็นต้น และลูกคนที่สองก็ชื่อไหน และซานรองลงมา ชื่อใหญ่ของชายเมี่ยนตั้งโดย หมอผีหรือผู้รู้ขนบธรรมเนียม ชื่อนี้แสดงลำดับเครือญาติ 4 ชั่วคน เช่น คนแซ่ลีคนรุ่นที่ 1-4 มีชื่อเริ่มต้นว่า เจียม ฝู หว่าน และยุ่น ตามลำดับ และเมื่อคนรุ่นที่ 5 จะมีชื่อเริ่มต้นเป็น เจียม อีก สำหรับ ชื่อผีนั้นตั้งเมื่ออายุ 12 ปี โดยหมอผี จะถามเทวดาสูงสุด (เมี้ยนฮูง) ว่าใครจะมีชื่อผีว่าอย่างไร ซึ่งเมื่อตายไปจะต้องใช้ชื่อผีนี้เพียงชื่อเดียว และหากมีการเลี้ยงผี

ผีจะมีหน้าที่ติดต่อกับผีบรรพบุรุษก็ต้องเรียกชื่อผีนี้ แต่ตอนที่มีชีวิตอยู่จะไม่ใช้ชื่อนี้เด็ดขาด ผู้หญิงเมี่ยนมี 2 ชื่อคือ ชื่อตอนเกิดและชื่อผี ชื่อตอนเกิดเช่น เหมยหรือหมวงเป็นคำนำหน้าของลูกสาวคนโตและไหน ฟาม เฝยเป็นชื่อเรียงลำดับรองลงมาส่วนคำหลัง ก็จะใช้พยางค์หลังของพ่อมาเป็นพยางค์หลังของลูกชื่อผีนี้จะใช้ตามสามีคือ บอกว่าเป็นภรรยาของใคร (บอกชื่อผีของสามี) เพราะ เมื่อผู้หญิงแต่งงานก็ต้องเปลี่ยนมานับถือผีและใช้แซ่ของสามี เช่น ผู้หญิง ชื่อว่านางลายเจียวและชื่อผีของสามีชื่อ ฝ่าเย่า นางลายเจียวจะถูกเรียกชื่อผีในพิธีกรรมว่า ภรรยาของฝ่าเย่า

เด็กเมี่ยนอาจจะมีชื่อเล่นหรือสมญานามที่ตั้ง เพื่อแสดงเหตุการณ์ตอนเกิด หรือแสดงความเอ็นดูและชื่อนี้อาจเปลี่ยนไป หากเด็กป่วยกระเสาะกระแสะอาจเป็นเพราะพ่อแม่ตั้งชื่อนั้น ๆ เป็นกาลกิณี และการตั้งชื่อเอาเคล็ดหรือตามสถานการณ์ เช่น

  • คลอดในกระท่อมอาจชื่อว่า หลิ่วเซ็ง (หลิ่ว=กระท่อม)
  • จ้ายเซ็ง (จ้าย=สุดท้อง)
  • ดจ่าน คำนำหน้าชื่อสำหรับเด็กปัสสวะราดขณะคลอดทั้งหญิงและชาย
  • เล่อว คำนำหน้าสำหรับเด็กที่คลอดกลางทางระหว่างกลับจากไร่ หรือไปโรงพยาบาลทั้งหญิงและชาย
  • เฉง คำนำหน้าชื่อเด็กที่เกิดมามีสายสะดือพันคอ ทั้งหญิงและชาย
  • ก้อย หรือเหยี่ยน ในกรณีที่มีลูกสาวจนพอแล้วอยากได้ลูกชาย เมี่ยนมักจะใช้ชื่อก้อยหรือเยี่ยนมาตั้ง ซึ่งก้อยหรือเยี่ยนหมายถึงเปลี่ยนหรือแลก

Enter your email address to subscribe to this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 7 other subscribers