วัสดุที่ใช้ในการย้อมสีผ้า

วัสดุธรรมชาติที่นิยมใช้

ชื่อไทย ชื่อกะเหรี่ยง ส่วนที่ใช้ สีที่ได้
ขมิ้น เส่ยอ หัว, เหง้า เหลือง
คราม นอข่อ ใบ กรมท่า
สะหย่า ใบ, ยอด ดำ
โค๊ะ ราก แดง
สมอป่า ใบ กากีแกมเขียว
เปลือก เขียวแก่
แก่นขนุน แก่น เขียวตองอ่อน
เปลือกเพกา เปลือก เขียวตองอ่อน
ประดู่,ไม้แดง เปลือก แดง
เงาะป่า เมล็ดใน แสด
ต้นปุย เปลือก ชมพู

การแต่งกาย

ลายในเนื้อผ้า
ลักษณะลวดลายจะปรากฏ เป็นเส้นนูนตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ หากเป็นลายนูนตามแนวตั้ง การกำหนดลายจะทำพร้อมกับการเรียงด้าย คือใช้จำนวนด้ายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมนที่ที่ต้องการให้เป็นลายนูน ส่วนด้ายขวางใช้จำนวนเท่าปกติ การทอวิธีนี้นิยมใช้ทอเสื้อผู้ชายสูงอายุของเผ่ากะเหรี่ยง

ลวดลายสลับส
เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ

ลายจก
เป็นการทอลวดลายโดยการสอดด้ายสลับ (ซึ่งไม่ใช่ด้ายเส้นเดียวกับด้ายขวางเข้าไปเป็นบางส่วนในเนื้อผ้า ตามลวดลาย และสีในตำแหน่งที่ต้องการ การยกด้ายยืนจะไม่เป็นไปตามการยกตะกอ แต่ผู้ทอจะใช้นิ้วมือ หรือขนเม่นช่วยสอดยกด้ายขึ้นตามจำนวนที่กะไว้ และสอดด้ายสีที่ต้องการเข้าไป ระหว่างด้ายยืนนั้น ฉะนั้นลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าทั้งผืนอาจไม่เหมือนกันก็ได้

ลายขิด
คือการทอผ้าโดยให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัวโดยกำหนดสีตามด้ายยืน การแยกด้ายยืนใช้วิธีนับเส้นเป็นช่าง ๆ และสอดไม้หน่อสะยาเข้าไปเป็นตัวนำ ไม้จะช่วยแยกด้ายให้ช่องระหว่างด้ายยืนกว้างเพื่อความสะดวกในการสอดด้ายขวาง กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายสลับซับซ้อนน้อยกว่า และของอีสานไม่นิยมทอลายขิดพร้อมกับการสลับสี แต่ของกะเหรี่ยงนิยมทอลายขิด และเล่นลายสลับสี ดังนั้นในผ้าผืนเดียวจึงมีทั้งลวดลายยกดอกนูนขึ้นมาของลายขิด และลายเล่นสีสลับกัน

ลายจก                                                  ลายขิด                                            มัดหม                                            ปักลูกเดือย

 

การทอลวดลายโดยแทรกวัสดุ
ทอประกอบลูกเดือย
ปกติการปักลูกเดือยประดับชายเสื้อผู้หญิง จะใช้วิธีปักหลังจากเย็บผ้าประกอบเข้าไปพร้อมกันในขณะทอผ้า โดยร้อยลูกเดือยเข้ากับเส้นด้ายขวางระหว่างด้ายยืน โดยให้ลูกเดือยลอยตัวอยู่บนผืนผ้า เมื่อประกอบเป็นลวดลายแล้วจึงปักทับด้าย สลับสีลงในช่องระหว่างลูกเดือยเหล่านั้น เป็นการทำลวดลายบนผืนผ้าให้สวยงามหลังจากเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มแล้ว ส่วนใหญ่กะเหรี่ยงสะกอจะนิยมปักประดิษฐ์ลวดลายบนเสื้อผู้หญิงแม่เรือน ลักษณะการประดับประดาจะใช้ด้ายหลากสีปักสลับลูกเดือน ซึ่งเป็นพืชที่กะเหรี่ยง ต้องปลูกไว้เพื่อใช้ในกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ ส่วนผู้หญิงกะเหรี่ยงโปมักตกแต่งลวดลาย โดยการทอมากกว่าปักภายหลัง และไม่นิยมตกแต่งด้วยลูกเดือย สีลูกเดือยที่ใช้ ได้แก่ สีดำ แดง เหลือง และขาว โดยจะใช้ทุกสีและให้นํ้าหนักกับสีดำ และสีแดง ส่วนสีเหลืองและสีขาวเป็นสีตกแต่ง สีประกอบ ได้แก่ สีชมพู น้ำเงิน ส้ม เขียว เป็นกลุ่มสีที่นำมาใช้ภายหลัง และนิยมใช้กันมากขึ้นส่วนใหญ่มักซื้อที่ย้อมเสร็จแล้วมาใช้ โดยให้เหตุผลว่าสีสวยและไม่ตก

ลายงูเหลือม                                      บอกน้ำเต้า                                      ลูกเดือย                                     ตัวบุ้ง

การประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพ


ชาวกะเหรี่ยงใช้ชีวิตในชนบท มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตรทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์

เดิมชาวกะเหรี่ยงปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ แต่ปัจจุบันได้หันมาปลูกพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชเมืองหนาว โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้จากโครงการพัฒนาชนบทจากหลายๆ หน่วยงาน เช่น โครงการหลวง ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนมีความผาสุก

กะเหรี่ยงได้ชื่อว่ารู้จักการใช้พื้นที่ทำกินแบบ “ไร่หมุนเวียน” นั่นคือ ทำครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-5 ปี จึงกลับไปทำใหม่ วนเวียนไปโดยตลอด เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพ มิได้ทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นการตัดไม้ทำลายป่าอย่างที่เคยเข้าใจกัน

กะเหรี่ยง หรือ “ ปกากะญอ” ขึ้นชื่อว่าเป็นชนเผ่าที่รักความสันโดษ อยู่อย่างเงียบ ๆ ชอบใช้ชีวิตอยู่กับป่าไม้ลำเนาไพร ยึดถืออาชีพที่เป็นอิสระ กะเหรียงดั้งเดิมส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา อยู่ตามป่าตามเขา ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล ส่วนสัตว์เลี้ยงก็จะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารมากกว่าการค้าขาย ใช้ชีวิตแบบพึ่งป่าพึ่งน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่  การเกษตรของชนเผ่ากะเหรี่ยง



วิถีชีวิต

ชาวกะเหรี่ยงนั้นมีความผูกพันธ์กับธรรมชาติมาก ดังนั้นจึงมีความเชื่อในเรื่องภูติผีต่างๆ ซึ่งพิธีกรรมโบราณต่างๆจึงมักจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งที่เหนือธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนี้พิธีกรรมต่างๆได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เพราะชาวกะเหรี่ยงเริ่มมีความรู้มากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้บางพิธีกรรมเริ่มเลือนหานไปจากสายตาของพวกเขา

การตาย

การเตรียมศพ

ในหมู่บ้านหากมีผู้คนในหมู่บ้านเสียชีวิตลง เพื่อนบ้านทุกคนจะหยุดงานเพราะถือเป็นข้อห้าม ซึ่งเรียกว่า “ดึปกาซะลอ หม่า” คือข้อห้ามสำหรับวิญญาณที่หลุดหายไป ทุกคนในหมู่บ้านจะหยุดทำงานเพื่อที่จะมาในงานของผู้ตาย ขั้นแรกญาติพี่น้องก็จะอาบน้ำศพ และนำเสื้อผ้าใหม่ ๆ มาสวมใส่ให้เสร็จแล้วก็จะห่อศพด้วยเสื้อตีข้าว และเตรียมสัมภาระให้แก้ศพ หลังจากห่อศพแล้วจะหาไม้ไผ่หนึ่งท่อนยาวนำมาผ่าออกเป็น 4 ซีกเท่า ๆ กัน ครึ่งท่อนแล้ว ง่ามลงบนศพเพื่อยึดศพให้มั่น เรียกไม้ไผ่ท่อนนี้ว่า ไม้ง่ามศพ จากนั้นก็จะนำเสื้อผ้า ของศพที่ญาติพี่น้องมอบให้ แขวนไว้ที่ปลายท่อนไม้ไผ่ เสื้อผ้า และข้าวของของศพนี้เรียกว่า ”ปวา ซี อ่ะ กื่อ” มีความหมายว่า “สัมภาระศพ” เป้าหมายการเตรียมสัมภาระของศพนี้ ก็เพื่อทำความร่มรื่นให้ศพ ขณะเดินทางกลับไปยังโลกหน้า

พิธีส่งสัมภาระและข้าวของให้ศพ (เอ๊าะโล)


ก่อนที่จะปลงศพจะมีการเตรียมสัมภาระและข้าวของให้ศพ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยจำเป็นในการดำเนินงาน ได้แก่ ย่าม มีด หม้อ ชาม ถ้วย ไม้ขีดไฟ เชื้อมัน เชื้อข้าว กล้ากล้วย ยาสูบ หมาก พลู เป็นต้น ข้าวของสัมภาระทั้งหมดจะบรรจุลงในกะฉุกใบหนึ่ง เมื่อได้ เวลาปลงศพ กะฉุกใบนี้ก็จะถูกเอาไปด้วย ปลงศพเสร็จแล้วจะนำกะฉุกใบนี้ไปวางไว้ใต้ต้นไม้ จากนั้นนำขอเกี่ยวคอเสื้อผู้ทำพิธีและดึงกลับบ้านพอเป็นพิธี การทำพิธีส่งสัมภาระ และข้าวของให้ศพนี้ มีความหมายว่า ในโลกหน้าวิญญาญของศพจะต้องกลับไปทำมาหากินเช่นเดียวกับชีวิตในโลกนี้ จึงต้องมีการมอบสัมภาระ และข้าวของให้ มิเช่นนั้นวิญญาณจะมีความยากลำบาก ไม่มีข้าวของ และเครื่องใช้ในการทำมาหากิน

ข้อห้ามหลังปลงศพ
หลังจากปลงศพแล้วจะมีข้อห้ามในประเพณี คือ ไม่ให้คนในหมู่บ้านออกไปทำมาหากินนอกบ้าน ส่วนจะห้ามกี่วันนั้นขึ้นอยู่กับว่าศพนั้นมีการเก็บไว้กี่วัน หากเก็บไว้หนึ่งวันก็จะห้ามออกไปทำงาน 1 วัน ถ้าเก็บ 3 วันก็จะห้าม 3 วัน เป็นต้น ข้อห้ามนี้ เรียกว่า “ดึนาเกอะเกราะ” หมายความว่า “ข้อห้ามผีผู้ตาย” เพราะกะเหรี่ยง ปกาเกอะญอเชื่อว่าหลังจากปลงศพผีของผู้ตายยังเดินไปมาภายในบริเวณหมู่บ้าน อยู่จนกว่าจะพ้นจำนวนวันที่เก็บศพไว้ เพราะฉะนั้นหากผู้ใดออกนอกหมู่บ้านในช่วงนี้ ผีผู้ตายอาจเห็นเข้าและจับขวัญของผู้นั้นไป ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นล้มป่วยลงได้

พืชผักของศพ
หากมีผู้เสียชีวิตลงในกลางปี และผู้เสียชีวิตไม่มีโอกาสได้รับประทานพืชผักที่ตนปลูกลงไป ในกรณีนี้ญาติพี่น้องก็จะนำผลผลิตของพืชผักต่าง ๆ ในรอบปีนั้นไปฝากไว้ที่ไร่ หรือใต้ต้นไม้บริเวณของศพก็ได้หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้วิญญาณศพจะได้กลับมารับประทานผลผลิตของพืชผักเหล่านั้น แล้วจะได้กลับไปสู่สู่คติด้วยความสงบสุข จะได้ไม่กลับมาขอจากญาติพี่น้องอีก

ปัจจุบัน
เนื่องจากปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนไป จากที่เคยทำพิธีเเบบดั้งเดิม จึงหาดูงานศพแบบดั้งเดิมได้ยากมากขึ้น จะเห็นได้อย่างง่าย ๆ เช่น เสื่อตีข้าวที่ใช้ห่อศพได้มีการเปลี่ยนมาใช้เป็นโลงศพเเทน เเละพิธีการประกอบทางศาสนาอย่างการขับลำนำ หรือ “อึทาปวาซี” เเทบจะไม่ทำกันคนรุ่นหลัง จะมีส่วนน้อยมากที่จะให้ความสำคัญตรงจุดนี้ เนื่องจากการทำพิธีแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลานานเป็นข้ามคืนข้ามวัน ในสังคมที่คนปัจจุบันต้องเร่งรีบ จึงมีการย่นระยะเวลาในจุดนี้ ทำให้ส่วนสำคัญของพิธีได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบใหม่ คือ รวดเร็ว และลดขั้นตอนของบางอย่างไป

การแต่งงาน

การแต่งงาน


สู่ขอ (เอาะ เฆ)

เรื่องราวของการสู่ขอมีลักษณะดังนี้เมื่อเป็นที่รับรู้แล้วว่าหญิงชายรักชอบพอกัน พ่อแม่และญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงก็จะส่งคนไปหาฝ่ายชาย เพื่อสอบถามให้แน่ใจว่าฝ่ายชายรัก และยินดีที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงจริงหรือไม่ หากฝ่ายชายรักชอบพอกัน และยินยอมที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงก็จะมีการนัดหมายวันเวลาทำพิธีแต่งงานกันในเวลานั้น (ตามหลักประเพณีกะเหรี่ยงฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายไปขอฝ่ายชาย)

การหมั้นหมาย (เตอะ โหล่)

เมื่อฝ่ายชายตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกับฝ่ายหญิงและนัดหมายวันเวลาแต่งงานที่แน่นอนแล้วฝ่ายชายก็ส่งเถ้าแก่ ไปทำพิธีหมั่นหมาย ฝ่ายหญิงก่อนวันแต่งงานในพิธีฝ่ายหญิงจะฆ่าไก่ 2 ตัว ในการู่ทำอาหารเพื่อเลี้ยงรับรองเถ้าแก่ของฝ่ายชายและ วันรุ่งขึ้นก็จะนัดหมายวันเวลาที่ฝ่ายชายและเพื่อนๆ จะมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำพิธีแต่งงานต่อไป

หมูแรกทำพิธี (เทาะ เตาะ)

เทาะเตาะ คือหมูตัวแรกที่ใช้ฆ่าในพิธีแต่งงาน และจะนำเนื้อหมูมาเอาไว้เป็นเครื่องบูชาเพื่อขอเทวดามาอวยพรเจ้าบ่าวเจ้า สาวและผู้ร่วมงานทุกคน เมื่อถึงเวลาออกเดินทางไปสู่หมู่บ้านเจ้าสาว เถ้าแก่ของเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวจะลงไปอยู่พร้อม กันที่พักหน้าหมู่บ้านและจะปูเสื่อเพื่อนั่งปรึกษาหารือกัน จากนั้นเถ้าแก่จะทำพิธีรินเหล้าและอธิฐานขอพร เมื่อเสร็จพิธีก็จะออกเดินทางโดยมีเจ้าบ่าวและเพื่อนๆของเจ้าบ่าวร่วมเดินทางกันอย่างพร้อมเพรียงกัน เมื่อเดินทางมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อนบ้านของเจ้าสาวก็จะคอยต้อนรับโดยจะให้ไปพักที่พักชั่วคราวบริเวณหน้าบ้าน เพื่อทำพิธีดื่มเหล้า เสร็จพิธีดื่มหัวเหล้า (เหล้าขวดแรกที่ใช้ดื่มในพิธี) หลังจากนั้นก็จะขึ้นไปสู่บ้านเจ้าสาวเพื่อพักผ่อน และดื่มเหล้าพร้อมกับขับลำนำโต้ตอบกันระหว่างเพื่อนเจ้าบ่าวที่เป็นคนต่างถิ่นและเพื่อนเจ้าสาวที่เป็นคนต่างถิ่น และเพื่อนเจ้าสาวที่เป็นคนในถิ่น ในขณะเดียวกันนี้ญาติพี่น้องของเจ้าสาวก็จะทำการฆ่าหมูเพื่อทำอาหารสำหรับเลี้ยงต้อนรับแขกที่มาในงานทุกคน รวมถึงเพื่อนเจ้า บ่าวที่มาจากต่างถิ่นมารับประทานอาหารร่วมกัน เสร็จแล้วก็จะเป็นเวลาส่วนตัวของแต่ละคน ที่จะพักผ่อนนอนหลับหรือเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านอื่นๆ และขับลำนำโต้ตอบกัน ซึ่งบางคนบางกลุ่มก็จะเที่ยวขับลำนำตลอดคืนเลยก็มี >

ไก่ขอพรระหว่างเดินทางกลับ (ชอ โจ่ ลอ)

ฝ่ายหญิงก็จะทำการฆ่าไก่ 2 ตัว ต้มให้สุกแล้วห่อให้เถ้าแก่และเพื่อนของเจ้าบ่าวนำกลับไปเพื่อเป็น อาหารเมื่อออกจากหมู่บ้านของเจ้าสาวซึ่งระหว่างทาง จะหยุดอยู่ข้างทางเถ้าแก่จะทำพิธีถวายอาหารแด่เทพยดาเพื่อเป็นการอวยพรแก่ผู้ร่วมเดินทาง ให้ได้รับความปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลาย และกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพจากนั้นทุกคนที่มาด้วยกัน จะต้องช่วยกันกินไก่กับข้าวให้หมดพอกลับถึงบ้านแล้วทุกคนก็จะมารวมกันตัวกันตรงจุดหน้าบ้านของเจ้าบ่าว ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับบ้านของตน แล้วเถ้าแก่ก็จะทำพิธีดื่มหัวเหล้าอีครั้งเป็น ครั้งสุดท้าย วันรุ่งขึ้นวันหนึ่งเพื่อนบ้านทุกคนจะหยุดงาน ซึ่งถือเป็นข้อห้าม

การเกิด – การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์    เมื่อสตรีกะเหรี่ยงตั้งครรภ์ ก็จะต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวังตังอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้คลอดบุตรอยากเป็นอันตรายแก่แม่และเด็ก อาหารเป็น เรื่องสำคัญ หญิงมีครรภ์ต้องไม่รับประทานอาหาร ที่ไม่คุ้นเคยหรือที่คนอื่นทำมาขาย การดื่มเหล้า เชื่อว่าจะทำให้แท้ง และการกินขนุนจะทำให้ทารก ในครรภ์เกิดมาเป็นโรงผิวหนัง นอกจากนี้นั้นยังห้ามหญิงมีครรภ์ไปงานศพ เพราะวิญญาณผู้ตาย ไปสู่โลกได้ง่ายๆ หากเผอิญไปเห็นศพหรือคนตายเข้า ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกันอย่างด่วน และคนในหมู่บ้านก็จะช่วยกันระมัดระวังมิให้เกิดเหตุการณ์ใด ๆ มารังควานหญิงมีครรภ์ เช่นไม่ล้มต้นไม้ขวางทางเดินไว้ เพราะจะทำให้ผู้ไปพบคลอดบุตรยาก ต้องปัดรังควานหรือขอขมากันด้วยไก่หนึ่งตัว

การดูแลรักษาสุขภาพของหญิงกะเหรี่ยงตั้งครรภ์

ในด้านการดูแลสุขภาพให้มีความแข็งแรงนั้นได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากบรรพบุรุษเดิมเช่นเดียวกับเผ่าอื่นๆ คือเริ่มตั้งแต่เด็กที่อยู่ในท้องมารดาจนถึงวัยชราภาพ ซึ่งจะเห็นได้จากจะมีข้อห้ามและข้อพึงปฏิบัติทั้งบิดา และมารดาจะมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติดังนี้

ข้อห้ามมารดาช่วงตั้งครรภ์

–                   ห้ามกินตัวอ่อนของตัวต่อ

–                   ห้ามกินอาหารที่มียาง เช่น เผือก ขนุน

–                   ห้ามกินเนื้อหมูป่าและสัตว์ที่ถูกเสือกัดตาย

–                   ห้ามนอนหลับมากเกินไปและทำงานหนักเกินไป

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับบิดาและมารดา มารดาจะต้องกินผักบำรุงร่างกาย รักษาความสะอาด ทำงานให้พอเหมาะ และรักษาอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ สำหรับบิดาให้รักษาอารมณ์ จิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ และจัดอาหารให้เหมาะสมแก่ภรรยา การคลอด

ตามปกติหญิงกะเหรี่ยงจะให้กำเนิดทารก ในบ้านของตนเองโดยมีสามี มารดา และญาติอื่น ๆ คอยช่วยเหลือ เวลาคลอดจะนั่งชันเข่าบนพื้นโดยโหนผ้าซึ่งผูกห้อยลงมาจากขื่อ ช่วยนวดดันทารกออกจากครรภ์ขณะที่เธอเบ่งอยู่นั้น เมื่อทารกพ้นออกจากครรภ์ เขาจะตัดสายสะดือด้วยผิวไม้ไผ่ และห่อรกด้วยผ้าบรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่ จากนั้นจะให้พ่อของเด็กนำสะดือที่อยู่ในกระบอกไม้ไผ่ ไปแขวนไว้บนต้นไม้ในป่า ต้นไม้ต้นนี้เรียกว่า “ป่าเดปอ” เป็นต้นไม้ที่ใช้เก็บขวัญเด็ก ห้ามตัดต้นไม้ต้นนี้เพราะจะทำให้เด็กล้มป่วย หรือถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ามีคนไม่รู้และไปตัดต้นไม้ต้นนั้น จะต้องทำการเรียกขวัญเด็กทันที หญิงกะเหรี่ยงกลัวการคลอดบุตรยาก เพราะรู้กันอยู่ว่าอันตราย การตายของเด็กจะสูงมาก เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติครอบครัวมักจะตามหมอตำแยมาค้นหาสาเหตุ หากระบุว่า เป็นภูตผีตนใดก็จะทำการเซ่นไหว้กันโดยด่วน

หลังคลอด

เมื่อคลอดเรียบร้อยแล้ว มารดาก็จะต้องนั่งอยู่ไฟสาววันก่อนจะออกจากบ้านได ้เธอจะนอนราบลงไม่ได้ เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้โลหิตขึ้นสมองตาย บางรายก็จะนั่งกอดหินซึ่งเผาไฟร้อนแล้วห่อผ้าแนบท้องไว้ ระหว่างนี้อาหารที่กินได้ คือ ข้าวกับนํ้าเปล่าหรือข้าวต้มเท่านั้น หลังคลอดจะทำพิธีรับขวัญแม่และเด็ก โดยตามผู้เชี่ยวชาญมาประกอบพิธีสวดทำนํ้ามนต์รดทั่วตัวมารดา เสร็จแล้วสามีหรือบิดาของเธอจะทำพิธีเรียกขวัญให้มารดาและเด็ก วันหลังคลอดมารดาจะเคี้ยวข้าวผสมกับเกลือ และนํ้าจนละเอียดแล้วป้อนให้เด็กเป็นพิธี เมื่อสายสะดือเด็กหลุดก็จะทำพิธีผูกข้อมือเด็ก และผูกคอด้วยสร้อยกรวดเป็นการอวยพรให้แข็งแรงโตเร็ว เมื่อเด็กครบเดือนจึงจะทำพิธีตั้งชื่อ พ่อแม่จะผูกข้อมือเด็กและเจาะหู เพื่อแสดงว่าทารกนี้เป็นคนมิใช่วานร แล้วกล่าว “บัดนี้เจ้าเป็นคนแล้ว” หากเด็กล้มป่วยลงหลังจากคลอดออกมาเพียงไม่กี่คนวัน พ่อแม่ก็จะไปที่ฝังรกเด็กแล้วเรียกขวัญให้กลับเข้าร่าง หากป่วยเมื่ออายุมากกว่าสองสัปดาห์ ขึ้นไปก็จะต้องเซ่นผีด้วยไก่เพื่อซื้อวิญญาณเด็ก เมื่อขึ้นบ้านก็จะเคาะบันไดล่วงหน้าขึ้นไป แล้วรีบเข้าบ้านเพื่อดูให้แน่ใจว่าวิญญาณได้เข้าร่างเด็กแล้ว

ความเชื่อเรื่องขวัญของคนกะเหรี่ยง

1. ขวัญหัวใจ 10. ขวัญแย้ 19. ขวัญไก่ป่า 28. ขวัญเม่น
2. ขวัญมือซ้าย 11. ขวัญจิ้งหรีด 20. ขวัญเก้ง 29. ขวัญเลียงผา
3. ขวัญมือขวา 12. ขวัญตั๊กแตน 21. ขวัญกวาง 30. ขวัญกระทิง
4. ขวัญเท้าซ้าย 13. ขวัญตุ๊กแก 22. ขวัญสิงห์ 31. ขวัญแรด
5. ขวัญเท้าขวา 14. ขวัญแมงมุม 23. ขวัญเสือ 32. ขวัญเต่า
6. ขวัญหอย 15. ขวัญนก 24. ขวัญนก 33. ขวัญตะกวด
7. ขวัญปู 16. ขวัญหนู 25. ขวัญข้าว 34. ขวัญกุ้ง
8. ขวัญปลา 17. ขวัญชะนี 26. ขวัญงู 35. ขวัญอีเห็น
9. ขวัญเขียด 18. ขวัญหมูป่า 27. ขวัญตุ่น 36. ขวัญต่อ
37. ขวัญนกแก๊กนกแกง

Enter your email address to subscribe to this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 7 other subscribers